คำถามเจอบ่อยเด็กอยากติดคณะเวชกิจฉุกเฉิน
ถาม : คณะเวชกิจฉุกเฉินเรียนอะไรบ้าง?
ตอบ : เน้นการเรียนด้านการช่วยเหลือคนไข้หรือผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บ เช่น การให้น้ำเกลือ การใช้ท่อช่วยหายใจ การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การดูแลคนไข้บนรถพยาบาลฉุกเฉินจนถึงโรงพยาบาล เป็นต้น
_____________________________________________________________________________________________________
ถาม : อยากเรียนเวชกิจฉุกเฉินแต่กลัวเลือดทำไงดี?
ตอบ : อยากให้น้องๆลองมาสัมผัสบรรยากาศการเรียนดูก่อนลองเรียนสัมผัสผู้ป่วยจริงอาการกลัวเลือดอาจหายไปเอง
_____________________________________________________________________________________________________
ถาม : คณะนี้จำกัดส่วนสูง น้ำหนักของผู้เรียนไหม
ตอบ : ไม่จำกัดจะน้ำหนักส่วนสูงเท่าไหร่ก็เรียนได้แต่ถ้าใครน้ำหนักมากไปก็อาจจะมีการเทรนในเรื่องน้ำหนักเพราะถ้าน้ำหนักมากอาจมีผลต่อการยกผู้ป่วยได้
_____________________________________________________________________________________________________
ถาม : การสอบเข้ามีกี่รอบและใช้คะแนนอะไรบ้าง
ตอบ : จะมีทั้งหมด 3 รอบ รอบแรกคือรอบ Portfolio รอบสองคือรับตรงจากคณะจะเป็นข้อสอบจากทางคณะออกข้อสอบเองและรอบสามรอบ Admission
_____________________________________________________________________________________________________
ถาม : ต้องเรียนและฝึกงานกับผู้ป่วยโดยตรงไหม
ตอบ : ต้องเรียนและฝึกงานกับผู้ป่วยจริงๆแนะนำให้น้องอ่านหนังสือเพิ่มเติมหาความรู้อยู่ตลอด
_____________________________________________________________________________________________________
ถาม : ผู้หญิงสามารถเรียนได้ไหม
ตอบ : ผู้หญิงก็สามารถเรียนได้เหมือนกันแต่หลังจบแล้วการทำงานค่อนข้างหนักเหมือนกัน
_____________________________________________________________________________________________________
ถาม : คณะนี้เรียนกี่ปี
ตอบ : สำหรับคณะนี้ใช้เวลาเรียน 4 ปีการศึกษา
_____________________________________________________________________________________________________
ถาม : อยากเรียนคณะนี้ต้องจบสายอะไร
ตอบ : จบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทย์ – คณิต
คณะเวชกิจฉุกเฉินจบมาทำอาชีพอะไร
1. ทำงานในห้องฉุกเฉิน
เช่น พยาบาลและเวชกิจ ทำหน้าที่ชักประวัติเบื้องต้น วัดชีพจร ความดัน แล้วรายงานแพทย์ เป็นต้น
2.งานนอกห้องฉุกเฉิน
เช่น ไปรับคนไข้ฉุกเฉิน คนไข้โดนรถชนทำงานร่วมกับแพทย์และพยาบาล
3. แพทย์แผนกฉุกเฉิน
แพทย์ผู้ทำงานในแผนกฉุกเฉินและบางครั้งก็ต้องประจำรถพยาบาลฉุกเฉินเพื่อไปช่วยผู้ป่วย ณ ที่เกิดเหตุให้ทันเวลาด้วย เรียกได้ว่าต้องทั้งเก่ง ไว และมีสติในทุกสถานการณ์ เพราะต้องคัดกรองวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้องและตัดสินใจในการรักษาเบื้องต้นอย่างเร่งด้วยเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยให้ผลจากขั้นวิกฤติ แล้วจึงประสานงานกับแพทย์เฉพาะทางอื่น ๆ ต่อไป ซึ่งหากน้อง ๆ สนใจอาชีพนี้ ต้องเริ่มจากเรียนสายวิทย์-คณิต เรียนแพทย์ 6 ปี จนได้รับปริญญาด้านแพทยศาสตรบัณฑิต แล้วจึงเรียนต่อเฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินอีก 3 ปี เพื่อเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
4. นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
นอกจากจะถึงผู้ป่วยเป็นรายแรกพอ ๆ กับแพทย์แล้ว ยังต้องพกความรู้ความสามารถในการปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูงและการกู้ชีพติดตัวไปด้วย แม้จะดูแล้วจะใกล้เคียงหมอก็ไม่ใช่ จะเป็นพยาบาลก็ไม่เชิง แต่หน้าที่ของพวกเขาเรียกได้ว่ามีความสำคัญมากในทีมแพทย์ฉุกเฉิน เพราะต้องมีพื้นฐานการทำหัตถการทางการแพทย์ รักษาผู้ป่วยโดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในภาวะฉุกเฉินที่ส่งผลต่อชีวิต เพื่อให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นก่อนจะส่งเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เรียกได้ว่าได้ช่วยคนไข้ในช่วงนาทีชีวิตเลยทีเดียว
5. พนักงานฉุกเฉินการแพทย์
คนสำคัญอีกคนที่ขาดไม่ได้บนรถพยาบาลไซเรน EMT นอกจากจะขับรถได้ไวและปลอดภัยแล้ว ยังต้องมีพื้นฐานในการปฐมพยาบาลและกู้ชีพขั้นต้นได้ สามารถช่วยเหลือ แพทย์ พยาบาล หรือ paramedic ในการหยิบจับ จัดเตรียมอุปกรณ์ได้ รวมทั้งยกเปลและตรวจสอบเครื่องมือบนรถต่าง ๆ ด้วย โดย EMT นั้นต้องผ่านการอบรม ไม่ต่ำกว่า 115 ชั่วโมง เพื่อให้ได้ประกาศนียบัตรรับรอง โดยจะมีการอบรมตามสถาบันที่เกี่ยวข้องด้านการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลประจำจังหวัด หรือโรงพยาบาลศูนย์ เป็นต้น
หากต้องการศึกษาต่อจะมีการเรียนในระดับ AEMT (Advanced Emergency Medical Technician) คือ สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (ปวส.ฉพ.) หลักสูตร 2 ปี โดยรับผู้จบมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า โดยสถาบันที่เปิดรับสมัคร
6. ทีมช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุ
เจ้าหน้าที่เวชกิจฉุกเฉินระดับกลาง หรือเจ้าหน้าที่กู้ชีพเป็นหลักสูตรเทียบเท่า EMT-Intermediate ของสหรัฐอเมริกา และเจ้าหน้าเคลื่อนย้ายผู้ป่วยต้องผ่านหลักสูตรเวชกรฉุกเฉินระดับตัน (EMT-B)
7. ทีมพยาบาลวิชาชีพเฉพาะทางการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน
ที่ผ่านการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง (ACLS) และมีประสบการณ์การช่วยชีวิต
8.ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
เช่น แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน, สูตินรีแพทย์, วิสัญญีแพทย์, รังสีแพทย์วินิจฉัย ฯลฯ
คณะเวชกิจฉุกเฉินเรียนอะไรในแต่ละปี ?
ปี 1
เรียนพื้นฐาน
ปี 1 เรียนภาคศึกษาทั่วไปเป็นการเรียนปรับพื้นฐานก่อนเข้าสู่วิชาชีพก็จะมีวิชาเคมี การบริหารการเงินส่วนบุคคลและวิชาการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ วิชามหานครศึกษา รวมไปถึงภาษาอังกฤษ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เป็นต้น ในส่วนของวิชาภาคจะเป็นวิชาการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานในภาวะฉุกเฉิน
ปี 2
พลีคลินิก
ปี 2 เป็นชั้นเรียนพลีคลินิกก็จะมีเรียน Anatomy จิตวิทยา เภสัช สำหรับปีนี้น้องก็จะได้เรียนแลปด้วยนะและมีเรียนว่ายน้ำเพิ่มด้วยเพื่อจะได้ใช้ในเวชศาสตร์สำหรับชั้นปีต่อไป
ปี 3
ฝึกการทำงานจริงในโรงพยาบาล
ปี 3 สำหรับปีนี้เป็นปีที่เราอยู่ชั้นคลินิกแล้วเป็นการเรียนการปฏิบัติในสถานที่จริงและทำงานจริงทำงานในโรงพยาบาลทั้งบนวอร์ด ER ได้ออกไปรับผู้ป่วยฉุกเฉินจริงๆไม่ว่าจะเป็นเกิดจากอุบัติเหตุหรือที่เป็นโรคประจำตัวเป็นการเรียนรู้การทำงานร่วมกับหมอ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ในแผนกต่างๆเน้นไปทางชักประวัติคนไข้ ดูแลผู้ป่วย การกู้ชีพทางน้ำ เป็นต้น
ปี 4
เรียนทฤษฎี + ปฏิบัติ
ปี 4 ในการศึกษาชั้นปีที่ 4 นี้ก็จะได้เรียนทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติเลยในส่วนทางด้านทฤษฎีนั้นจะศึกษาในรายวิชาการจัดการภาวะฉุกเฉินการบาดเจ็บ จัดการภาวะฉุกเฉินทางสูตินารีเวชและเวชศาสตร์การบิน
ภัยพิบัติ เป็นต้น
อยากสอบติด คณะเวชกิจฉุกเฉิน
ต้องใช้คะแนนวิชาอะไร
1. GPAX
2. TGAT (คะแนนรวม)
3. TPAT 3 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์
4. A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1
5. A-Level อังกฤษ
6. A-Level เคมี
7. A-Level ชีวะ
8. A-Level ฟิสิกส์
อยากสอบติด คณะเวชกิจฉุกเฉิน
ควรได้คะแนนขั้นต่ำเท่าไหร่
คะแนนแนะนำ 50+
Rank A
1. มหิดล
Rank B
1. นวมิทร์
2. สารคาม
3. พะเยา