รวมข้อมูล คณะแพทยศาสตร์ ครบสุด!!

คำถามเจอบ่อยเด็กอยากติดคณะแพทยศาสตร์

ถาม : เรียนหมอเรียนยากมั้ย ?

ตอบ : ไม่มีอะไรที่เรียนง่าย ๆ ยิ่งคณะแพทย์ที่มีชีวิตคนเป็นเดิมพัน การคาดหวังยิ่งจะสูงมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้ยากสำหรับคนที่อยากเรียน ต้องอาศัยความขยัน อดทน ทุ่มเท จะไม่ค่อยมีเวลาว่างเหมือนคณะอื่น ๆ

_______________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : เรียนสายศิลป์แต่อยากเรียนหมอ ควรทำยังไง?

ตอบ : น้องเรียนสายไหน ก็สามารถยื่นสอบเข้าแพทย์ รอบแอดมิชชั่นหลักได้แล้ว แค่ต้องสอบ กสพท. แต่น้องสายศิลป์ จะเสียเปรียบน้องสายวิทย์-คณิตอยู่หน่อย ตรงพื้นฐานวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีวะ แต่ถ้าอยากเข้าหมอจริง ๆ ก็ต้องหาติวเอา หรือขยันมากขึ้นหน่อย

_______________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : หนูไม่ได้อยากเป็นหมอ แต่เรียนเก่ง พ่อแม่เลยอยากให้เป็น?

ตอบ : หาสิ่งที่ตัวเองชอบ หรือถนัดให้เจอแล้วไปคุยกับพ่อแม่ใหม่ ว่าเราไม่ได้อยากเป็นหมอแต่อยากเรียนอย่างอื่น แสดงให้เห็นว่าเราตั้งใจ ทุ่มเท มุ่งมั่นกับมันจริงๆ

_______________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : อ่านหนังสือเวลาไหน ตอนเช้า ตี 5 หรือดึก ๆ?

ตอบ : แล้วแต่ความสะดวกและความพอใจอ่านเวลาไหนก็ได้ แต่ต้องมีสมาธิในการอ่าน นอนให้เพียงพอ ทบทวนอยู่เสมอ

_______________________________________________________________________________________________________________________

ถาม :   ได้ยินว่า คนที่สอบติดหมออึดมาก อ่านหนังสือวันละ 7-10 ชม. ควรอ่านวันละกี่ชั่วโมงดี?

ตอบ : วันที่ไปโรงเรียนควรอ่านและทำโจทย์ วันละ 2-3 ชั่วโมง ส่วนวันที่ไม่ได้ไปเรียนควรอ่านและทำโจทย์ให้ได้วันละ 4-10 ชั่วโมง ยากหน่อย แต่ถ้าทำตามนี้ได้ถือว่าเยี่ยมเลย

_______________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : อ่านเจอในเว็บบอร์ดคนที่ติดหมอต้องเรียนพิเศษมาก ๆ ดรอปเรียน 1 ปี นอนดึกมากๆ

ตอบ : พยายามอย่าคิดมาก การมีต้นแบบนั้นดี แต่ควรดูกำลังของตัวเองด้วยว่าไหวไหม ถ้าต้องการเรียนพิเศษเยอะ ๆ นอนดึกได้แค่ไหน เราอยากดรอปเรียนหรือเปล่า เพื่อเข้าหมอจริง ๆ ไหม

_______________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : ผมเรียน รด. เสียเวลามาก ควรเลิกเรียนแล้วเอาเวลามาเตรียมสอบมั้ยครับ เห็นว่าเรียนหมอได้ยกเว้นการเว้นทหาร?

ตอบ : ไม่มีการเรียนคณะไหนแล้วได้ยกเว้นเกณฑ์ทหารและการเรียน รด. เป็นการฝึกฝนร่างกายให้มีพละกำลังจะช่วยให้เรามีร่างกายที่พร้อมกับการเตรียมสอบมากขึ้น

_______________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : อย่าเรียนหมอเลย มันหนัก เหนื่อย เงินน้อย ฟ้องร้องเยอะ

ตอบ : ถ้าน้องอยากเรียนหมอจริง ๆ และอยากได้แรงบัลดาลใจ ขอให้คุยกับคนที่มีทัศนคติบวก เขาจะทำให้คุณได้รับอะไรบางอย่างกลับไปเสมอ เช่น เคล็ดลับการเตรียมตัว กำลังใจ

_______________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : มีคณะไหนคล้าย ๆ แพทย์ แต่ไม่ใช่แพทย์บ้างไหมไม่อยากให้ลูกเรียนหนัก ไม่อยากให้เครียด

ตอบ : ถ้าอยากเป็นแพทย์ก็ต้องเรียนแพทย์ ไม่มีคณะไหนที่ไม่ได้เรียนแพทย์ แล้วจบมาเป็นแพทย์ได้และไม่มีคณะไหนที่ไม่เรียนหนักไม่มีคณะไหนเรียนแล้วไม่เครียด ทุกคณะจะมีความยากหมด

_______________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : ถ้าไม่เรียนพิเศษจะสอบติดไหม?

ตอบ  : ถ้าน้องจริงจังกับการเตรียมตัวสอบแข่งขัน ฝึกฝนตัวเองอย่างหนัก โจทย์ที่อยู่ในหนังสือมีมากจนทำกันไม่ทัน  มากจนไม่เหลือเวลาไปเรียนพิเศษซะอีก

_______________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : ตอนนี้จบ ป.ตรี ทำงานมาสักระยะแล้วอยากเรียนแพทย์คิดว่าทำได้ไหม?

ตอบ : ทำได้ แต่อยากให้พิจารณาอย่างรอบคอบ เช่น ยังไม่แต่งงาน ไม่มีลูก มีเงินเก็บประมาณ 7 แสนบาท (ค่าใช้จ่ายคร่าวๆ ปีละ 120,000) ถ้าพร้อมจริง เตรียมตัวพร้อมแล้ว เชียร์ให้ลุยเลย

_______________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : ควรเรียนวิชาที่ถนัด เช่น สังคม อังกฤษ หรือควรเรียนหมอ ตามที่พ่อแม่บอก เพราะไม่ตกงาน

ตอบ : ง่าย ๆ ต้องรู้ว่าเราอยากเป็นอะไรแล้วค่อยสอบให้ติดคณะที่จะส่งเสริมให้น้องเป็นสิ่งนั้นได้โดยตรงที่สุด

_______________________________________________________________________________________________________________________

สาขาของคณะแพทยศาสตร์มีอะไรบ้าง ?

            สำหรับคณะแพทยศาสตร์มีสาขาเฉพาะทางซึ่งจะมีสาขาต่าง ๆ ดังนี้

1. แพทย์กระดูก

            สำหรับ แพทย์กระดูก หรือเรียกว่า “ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ (Orthopedics)” ในประเทศไทยจะมีชื่อเรียกศัลยแพทย์ในสาขานี้มากมายหลายชื่อ  เช่น ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ แพทย์กระดูกและข้อ หรือหมอกระดูก เป็นต้น แพทย์ในสาขานี้จะต้องทำการวินิจฉัยความผิดปกติเกี่ยวกับกระดูก ข้อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อต่าง ๆ ของร่างกาย

2. กุมารเวชศาสตร์

            สาขานี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการคือ “ศัลยแพทย์หัวใจ (Cardiac Surgeon)” หรือ เรียกว่า “ศัลยแพทย์หัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Surgeons)” ก็ได้ เป็นการแพทย์แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับความผิดปกติของหัวใจ วินิจฉัย และทำการรักษา เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ภาวะหัวใจวาย และลิ้นหัวใจรั่ว เป็นต้น ดังนั้น แพทย์ทางด้านนี้จึงต้องมีความชำนาญเป็นพิเศษโดยเฉพาะเรื่องการผ่าตัด

3. ศัลยแพทย์ทั่วไป

            สาขาศัลยแพทย์ทั่วไป (General Surgeon) หรือที่เรียกกันว่า “หมอผ่าตัด” เป็นหมอที่มีรายได้สูงอีกหนึ่งสาขาวิชา แต่ต้องทำงานภายใต้ความกดดันและแข่งขันกับเวลา เพราะทุกนาทีหมายถึงชีวิตของผู้ป่วยที่ฝากเอาไว้ในมือของหมอ โดยที่ศัลยแพทย์สามารถแบ่งย่อย ๆ ออกไปได้อีกหลายแขนงด้วยกัน เช่น ประสาทศัลยแพทย์ (หมอผ่าสมอง) ศัลยแพทย์อุบัติเหตุ กุมารศัลยศาสตร์ (หมอผ่าตัดเด็ก) และอื่นๆ เป็นต้น

4. วิสัญญีแพทย์

            สาขาวิสัญญีแพทย์ (Anesthesiologist) หรือที่ชอบเรียกกันว่า “หมอดมยา หรือ หมอวางยาสลบ” จะทำหน้าที่วางยาสลบ ยาชา บล็อกไขสันหลัง ฯลฯ เพื่อดูแลผู้ป่วยให้เกิดความเจ็บปวดน้อยที่สุดและปลอดภัยมากที่สุด ในขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด วิสัญญีแพทย์ต้องเลือกยา รวมถึงวิธีการให้เหมาะสมกับเคสและกายภาพของผู้ป่วย มิฉะนั้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ แม้จะไม่ค่อยถูกพูดถึงมากสักเท่าไหร่ แต่อันที่จริงแล้ววิสัญญีแพทย์เป็นผู้ที่ปิดทองหลังพระ ทำงานหนักไม่แพ้หมอคนอื่น ๆ เลยทีเดียว

5. นิติเวชศาสตร์

            เป็นสาขาเฉพาะทางที่เกี่ยวกับการชันสูตรศพ เช่น เพื่อค้นหาสาเหตุการตายที่มาจากเหตุที่ไม่เป็นธรรมชาติ เช่น การฆ่าตัวตาย การถูกฆาตกรรม เป็นต้น

6. สูตินารีแพทย์ 

            สาขาสูตินารีแพทย์  (Gynecologist) มีบทบาทในการทำคลอดและตรวจรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับสตรี โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ โดยมักเรียกพวกเขาว่า “หมอตรวจภายใน” มีหน้าที่ครอบคลุมถึงการให้คำปรึกษาเรื่องการมีบุตรและการผ่าตัดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิง

7. แพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ    

            แพทย์ทางด้านโรคระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นสาขาที่ขาดแคลนและต้องการเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นสาขายังได้รับค่าตอบแทนที่สูงอีกสาขาหนึ่ง โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้เรียกว่า “ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ (urologist)” จะทำหน้าที่ในการตรวจ วินิจฉัย และรักษาโรคเฉพาะทางระบบเดินปัสสาวะทั้งหมด ระบบอวัยวะที่สำคัญภายในคือ “ตับและไต” โดยที่ใครจะเลือกเรียนต่อแพทย์ในสาขานี้ ต้องทำการศึกษาเกี่ยวกับโรคทั้งหมดที่ส่งผลกระทบต่ออวัยวะทั้งตับและไตให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ยังต้องเรียนรู้เกี่ยวกับระบบอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งหมดของเพศชายด้วย ได้แก่ องคชาติ อัณฑะ ถุงอัณฑะ ท่ออสุจิ ต่อมลูกหมาก และถุงน้ำกาม เพราะเมื่อผู้ชายที่ป่วยเป็นโรคทางเดินปัสสาวะเรื้อรัง ก็จะส่งผลต่อระบบไต

8. ศัลยแพทย์ช่องปาก

            สาขาศัลยแพทย์ช่องปาก (Oral and Maxillofacial Surgeons) เป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีพทางด้านทันตแพทย์ ที่ลงลึกเฉพาะทางเกี่ยวกับการผ่าตัดเพื่อรักษาความผิดปกติของขากรรไกร ใบหน้า ปากแหว่งเพดานโหว่ ดูแลระบบบดเคี้ยวอาหาร และการทำหน้าที่ของอวัยวะภายในช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดกระดูกขากรรไกร ผ่าตัดฝังรากฟันเทียมต่าง ๆ ปลูกฟัน ผ่าตัดเนื้องอกในช่องปาก รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมก่อนใส่ฟันปลอม

9. รังสีแพทย์ : รังสีวิทยา

            ในสาขา “รังสีแพทย์” จัดอยู่ในสาขารังสีวิทยา (radiology) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภาพสิ่งต่าง ๆของร่างกายเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรค โดยจะต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษต่าง ๆ ทางการแพทย์เข้ามาช่วย ได้แก่ รังสีเอกซ์ (x-ray), รังสีแกมมา (Gamma ray) จากสารกัมมันตภาพรังสีคลื่นเสียง, คลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound) และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Nuclear Magnetic Resonance Imaging)

10. แพทย์เฉพาะทางด้าน ตา หู คอ จมูก

            สาขานี้เกี่ยวข้องกับ ตา หู คอ จมูก ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญต่อร่างกายและการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก ซึ่งเมื่ออวัยวะเหล่านี้เกิดผิดปกติขึ้นมาก ก็อาจจะสร้างความเจ็บปวดให้ผู้ที่ป่วยได้อย่างมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีแพทย์เฉพาะทางด้านนี้ให้คำปรึกษาในการรักษา แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขานาสิก หน้าที่สำหรับแพทย์ในสาขานี้ ได้แก่ ต้องทำการวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติต่าง ๆ

11. ศัลยกรรมตกแต่ง

             “Plastic Surgery” คือ แขนงวิชาเฉพาะสาขาของ “ศัลยศาสตร์ (Specialized Branch of Surgery)” ศึกษาในเรื่องความผิดปกติของรูปร่าง ผิวหนัง รวมทั้งระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างของร่างกาย ซึ่งศัลยแพทย์ตกแต่ง มีขอบข่ายในการทำงานที่กว้างมาก ไม่ใช่เฉพาะเสริมจมูก หรือทำตาสองชั้น เพียงเท่านั้น

คณะแพทย์ต้องเรียนอะไรบ้างในแต่ละปี ?

ปี 1

เรียนปรับพื้นฐาน

            ในช่วงปี 1 ต้องเรียนปรับพื้นฐานก่อน ก็จะเรียนในเนื้อหาที่แอดวานซ์ขึ้น วิชาที่ต้องเรียนจะเน้นฟิสิกส์ทั่วไป (บางสถาบัน), เคมีทั่วไป, ชีววิทยา, แคลคูลัส, ภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพแพทย์ เป็นหลัก
ปี 1 นี้เป็นปีเดียวที่จะได้ใช้ชีวิตเหมือนเด็กมหาลัยคณะอื่น ๆ คือเรียนแบบตามตาราง 8.00-16.00 บางวันก็ เรียนไม่เต็มวันทำให้ยังมีเวลาว่าง ทำกิจกรรมส่วนตัวที่ตัวเองชอบได้ วิชาที่เรียนกันในปี 1 นั้นจะไม่เกี่ยวข้องกับหมอเลย (ยกเว้นหมอบางสถาบันอาจจะมีบางวิชาที่เกี่ยวกับหมอบ้าง) เพราะจะเน้นไปที่วิชาคณิต ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ เป็นหลัก คล้าย ๆ ของม.ปลายเลย แต่ว่าจะยากกว่าค่อนข้างเยอะ ชีวิตปี 1 จะได้ทำกิจกรรมเยอะมาก ๆ โดยรวมแล้วปีนี้เป็นปีที่สบาย และไม่ค่อยกดดันเรื่องเรียนมากเท่าไหร่

ปี 2

ก้าวแรกสู่การเรียนแพทย์

            ปี 2 เป็นปีที่จะได้เรียนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเป็นหมออย่างจริงจัง จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับโครงสร้างร่างกายและการทำงานของระบบร่างกายของคนอย่างละเอียด เช่น ระบบประสาท ระบบเลือด เนื้อหาในปีนี้จะเยอะกว่าปีก่อนมากและยังจะต้องเรียนรู้ในวิชาอื่น ๆ อีก เช่น วิชาทางกายวิภาค สรีรวิทยา พันธุศาสตร์ เป็นต้น ดังนั้นจะต้องปรับตัวจากปี 1  และในปีนี้จะได้พบกับอาจารย์ใหญ่และกล่าวคำปฏิญาณด้วย

ปี 3

เรียนรู้เกี่ยวกับร่างกาย/ป่วยได้อย่างไร ?

            พอขึ้นปี 3 จะได้เรียนรู้กับสิ่งต่างๆ ที่ทำให้ร่างกายไม่ปกติ เช่น หลักภูมิคุ้มกันวิทยา, ปรสิตวิทยา, พยาธิทั่วไป, เวชศาสตร์ชุมชนฯ จนไปถึงยาต่าง ๆ ในเภสัชวิทยา แต่เป็นยาแบบพื้นฐาน ดังนั้นเราจะเริ่มรู้จักโรคต่าง ๆ และรู้จักเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคด้วย อีกทั้งยังจะได้เรียนเกี่ยวกับยาที่ใช้รักษาโรค แม้ว่าเราจะเรียนไม่ละเอียดเท่าเภสัช แต่เราก็จะได้เรียนลึกขนาดต้องรู้กลไกการออกฤทธิ์ โครงสร้างของยาบางตัวที่สำคัญ  จุดพีคของการเรียนปีนี้ไม่ได้อยู่ที่เนื้อหาวิชา แต่มันอยู่ที่ตอนปิดเทอม ปี 3 ก่อนขึ้น ปี 4 เราจะต้องสอบใบประกอบโรคของแพทย์ขั้นที่ 1 (เรียกสั้น ๆ ว่า NL 1 ซึ่งจะมีสอบทั้งหมด 3 ขั้น) และเนื้อหาที่ออกสอบคือ เนื้อหาที่เรียนทั้งหมดในปี 2 และปี 3

ปี 4

ใกล้คำว่าหมอขึ้นมาอีกขั้นเริ่มได้ดูแลคนไข้แล้ว

            ปีนี้เป็นอีกปีที่จะต้องปรับตัวอย่างมาก เพราะการเรียนจะไม่ได้เป็นเลคเชอร์ในห้องรวมแล้ว แต่จะเป็นการเรียนรู้บนหอผู้ป่วย (วอร์ด) โดยเรียนรู้จักผู้ป่วยโดยตรงเลย โดยจะถูกแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ เพื่อไปวนวอร์ดผู้ป่วยต่าง ๆ ตลอดปี แต่ละวอร์ดก็จะมีเนื้อความรู้ที่ต่างกัน เช่น วอร์ดสูติ-นรีเวช ก็จะเน้นไปที่โรคของผู้หญิง เช่น ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนมามาก ประจำเดือนมาบ้างไม่มาบ้าง หรือจะเป็นวอร์ดเด็กที่จะเน้นโรคของเด็ก ทั้งเด็กอ้วนไป เด็กผอมไป เด็กไม่พูด เด็กซนเกินไป เป็นต้น  ในตอนที่วนไปแต่ละวอร์ดก็จะได้รับคนไข้ คือต้องซักประวัติ ตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรค และให้แนวทางการรักษาเบื้องต้นได้ โดยอาจารย์บนวอร์ดจะเป็นคนคอยควบคุมดูแล ให้ความรู้ ชี้จุดบกพร่อง กับเราอีกทีหนึ่ง
อีกทั้งปีนี้เราจะได้ขึ้นเวร อีกด้วย โดยเราจะได้รับมอบหมายให้มีการอยู่เวรนอกเวลาราชการ มีหมดเลยตั้งแต่ 16.00-6.00 (ของอีกวัน) หรือจะเป็นวันเสาร์ อาทิตย์ หรือจะวันหยุดยาว เช่น สงกรานต์ ปีใหม่ ก็อาจจะมีเวรได้ ถ้าตารางเวรลงตัวตรงนั้น ดังนั้นเวลาว่าง เวลาส่วนตัวของเราก็จะลดลงกว่าเดิมบอกลาการปิดเทอมไปได้เลย

ปี 5

เรียนเหมือนปี 4 แต่เรียนหนักขึ้นและเก่งขึ้น

            รูปแบบการเรียนของปี 5 จะเหมือนของปี 4 คือต้องแบ่งกลุ่มย่อย ๆ และวนไปตามวอร์ดต่าง ๆ ตลอดทั้งปี อาจจะแตกต่างกันเล็กน้อยที่วอร์ดที่ไปวนนั้นอาจจะมีวอร์ดเล็ก ๆ ที่ไม่เคยได้ไปวนมาก่อนตอนปี 4 เช่น จิตเวช นิตเวช เป็นต้น (การวนวอร์ดนี่ แล้วแต่สถาบันจะจัด แต่ละสถาบันอาจจะวนไม่เหมือนกัน) สิ่งที่ต้องทำบบนวอร์ดก็จะคล้ายปี 4 คือต้องซักประวัติ ตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรค ให้การรักษาได้ เพียงแต่จะต้องทำได้ดีกว่าปี 4 ต้องมีความรู้มากกว่าปี 4 เพราะอาจารย์จะคาดหวังมากกว่าปี 4 นั่นเอง
สำหรับปี 5 อีกอย่างหนึ่งคือ ในช่วงปิดเทอมปี 5 ก่อนขึ้นปี 6 นั้นจะต้องสอบใบประกอบโรคของแพทย์ขั้นที่ 2 ซึ่งเนื้อหานั้นคือเนื้อหาของปี 4 และ ปี 5 ทั้งหมด

ปี 6

ทำงานเป็นหมอเต็มตัวในโรงพยาบาล

            ในการเรียนหมอแล้ว เราจะได้ “ทำงาน” เหมือนหมอตาม รพ. แทบจะทุกอย่างเลย ทั้งทำคลอดเอง เย็บแผลเอง ผ่าตัดเล็กเอง ให้การรักษาคนไข้ได้ โดยจะมีอาจารย์คอยดูแล อย่างห่าง ๆ กว่าปีก่อนมากขึ้น ปีนี้ถือว่าหนักที่สุดในการเรียนหมอ 6 ปี ที่สำคัญเรายังจะต้องสอบใบประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ขั้นที่ 3 (ขั้นสุดท้าย) ซึ่งจะทำการสอบตอนจบปี 6 ส่วนของข้อสอบนั้นจะไม่ได้เป็นแบบตัวเลือกเหมือนกับ 2 รอบที่ผ่านมา แต่จะเป็นการสอบแบบออสกี้ (OSCE) ซึ่งเป็นการสอบปฏิบัติแบบมีเสียงกริ๊ง กำหนดเวลา มีทั้งหมด 30 ฐาน


ทดลองเรียนฟรี >> คลิก

สอบถามรายละเอียด >> คลิก

อยากสอบติด คณะแพทยศาสตร์
ต้องสอบวิชาอะไร

  1. สามัญคณิต
  2. สามัญไทย
  3. สามัญสังคม
  4. สามัญอังกฤษ
  5. สามัญฟิสิกส์
  6. สามัญเคมี
  7. สามัญชีวะ
  8. ความถนัดแพทย์

คณะแพทยศาสตร์ต้องสอบวิชาอะไร

ควรได้คะแนนขั้นต่ำเท่าไหร่

แพทย์RANK A คะแนนแนะนำ    74.06666667

แพทย์จุฬาฯ/แพทย์มหิดล(ศิริราช)/แพทย์มหิดล(รามา)/แพทย์มหิดล(จุฬาภรณ์)/แพทย์จุฬาฯ(ทหารอากาศ)

ความถนัดแพทย์ (30%) คะแนนแนะนำ   75

แพทย์ เชาวน์ปัญญา คะแนนแนะนำ   75

แพทย์ เชื่อมโยง คะแนนแนะนำ   75

แพทย์ จริยธรรม คะแนนแนะนำ   75

แพทย์RANK B คะแนนแนะนำ     70.1

แพทย์นวมินทราธิราช/แพทย์ธรรมศาสตร์/แพทย์นวมินทราธิราช(วชิรฯ)/แพทย์ขอนแก่น/แพทย์เชียงใหม่/แพทย์ศรินครินทรวิโรฒ/แพทย์สงขลานครินทร์/แพทย์พระมงกุฎ(ญ)

ความถนัดแพทย์ (30%) คะแนนแนะนำ   75

แพทย์ เชาวน์ปัญญา คะแนนแนะนำ   75                           

แพทย์ เชื่อมโยง คะแนนแนะนำ   75                                  

แพทย์ จริยธรรม  คะแนนแนะนำ   75                                 

วิทย์ (40%) คะแนนแนะนำ   60                                          

เคมี คะแนนแนะนำ   60                                                       

ฟิสิกส์ คะแนนแนะนำ   60                                                    

ชีวะ คะแนนแนะนำ   60                                                     

คณิตศาสตร์ 1 (20%) คะแนนแนะนำ   60                        

ภาษาอังกฤษ (20%) คะแนนแนะนำ   60                           

ภาษาไทย (10%) คะแนนแนะนำ   60                                

สังคม (10%) คะแนนแนะนำ   60                                        

คณิตศาสตร์ 1 (20%) คะแนนแนะนำ   60                         

ภาษาอังกฤษ (20%) คะแนนแนะนำ   60                           

ภาษาไทย (10%) คะแนนแนะนำ   70                                 

สังคม (10%) คะแนนแนะนำ   70                                        

แพทย์RANK C คะแนนแนะน65.33333333

แพทย์นเรศวร/แพทย์บูรพา/แพทย์นราธิวาสราชนครินทร์/แพทย์แม่ฟ้าหลวง/แพทย์สุรนารี/แพทย์พระมงกุฎ(ช)

ความถนัดแพทย์ (30%) คะแนนแนะนำ   70

แพทย์ เชาวน์ปัญญา คะแนนแนะนำ   70

แพทย์ เชื่อม คะแนนแนะนำ   70

แพทย์ จริยธรรม คะแนนแนะนำ   70

วิทย์ (40%) คะแนนแนะนำ   53.33333333

เคมี คะแนนแนะนำ   50

ฟิสิกส์ คะแนนแนะนำ   50

ชีวะ คะแนนแนะนำ   50

คณิตศาสตร์ 1 (20%) คะแนนแนะนำ   60

ภาษาอังกฤษ (20%) คะแนนแนะนำ   60

ภาษาไทย (10%) คะแนนแนะนำ   60

สังคม (10%) คะแนนแนะนำ   60

upload success
upload fail
File
uploading