คำถามเจอบ่อยเด็กอยากติดคณะสัตวแพทยศาสตร์
ถาม : คณะสัตวแพทยศาสตร์เรียนยากไหม?
ตอบ : ถ้าถามว่ายากไหม ตอบเลยว่ายาก แต่ความยากนี้จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ เพราะการเรียนเราต้องใช้ความละเอียดและใช้ความจำเยอะมาก เพราะตั้งแต่ระดับเซลล์ร่างกายของสัตว์ การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในช่วงปี 1 – 3 ปี 4 – 5 จะพบกับเคสจริง ๆ แต่คิดว่าคงไม่มีอะไรยากเกินความตั้งใจของเรา
_____________________________________________________________________________________________________________________
ถาม : คณะสัตวแพทยศาสตร์นี้ไม่มีแบ่งสาขา แล้วถ้าต้องการเรียนเฉพาะทางสัตว์เล็กหรือสัตว์ใหญ่จะทำยังไง?
ตอบ : คณะสัตวแพทยศาสตร์ตลอด 6 ปี ไม่มีการแบ่งสาขา ต้องเรียนรู้สัตว์ทุกอย่างทั้งสัตว์เล็กและใหญ่ เพื่อให้เป็นคุณหมอที่รักษาสัตว์ได้ทุกชนิด เมื่อหลังเรียนจบแล้วก็จะพบว่าตัวเองชอบแนวไหนและสามารถเลือกเป็นคุณหมอรักษาสัตว์ประเภทนั้นได้ เราสามารถเปลี่ยนสายการรักษาได้เพราะเราได้เรียนรู้สัตว์ทุกประเภทมาแล้วนั่นเอง ถ้าใครอยากศึกษาต่อหลังจากจบปริญญาตรีแล้ว ตามสถาบันต่าง ๆ ก็มีหลักสูตรประกาศนียบัตรเฉพาะทางเปิดสอน
_____________________________________________________________________________________________________________________
ถาม : ในโลกนี้มีสัตว์เยอะแยะมากมายเป็นร้อยเป็นพัน แล้วต้องเรียนสัตว์ทุกอย่างเลยมั้ย?
ตอบ : จะเรียนตัวแทนของสัตว์สายพันธุ์นั้น ๆ หรือสัตว์ที่มีระบบโครงสร้างร่างกายคล้ายกัน เช่น สุนัข แมว แทนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไก่แทนสัตว์ปีก วัวกับม้าหรือแมวกับเสือก็มีโครงสร้างที่คล้ายกัน
_____________________________________________________________________________________________________________________
ถาม : ถ้าจะเรียนสัตวแพทย์ GPA ต้องมากกว่าเท่าไหร่?
ตอบ : ต้องทำ GPA ให้มากกว่า 3.00 นอกจากนี้ยังต้องฝึกทักษะในการเรียนให้ได้ความรู้ ฝึกทักษะในการสอบให้ได้คะแนน และพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพด้วย
_____________________________________________________________________________________________________________________
ถาม : เรียนสายศิลป์มาสามารถเรียนสัตวแพทย์ได้ไหม?
ตอบ : สำหรับน้อง ๆ ที่เรียนสายศิลป์มาแล้วพึ่งค้นพบตัวเอง ก็สามารถเรียนสัตวแพทย์ได้เหมือนกัน ต้องเตรียมตัวสอบเตรียมตัวอ่านหนังสือ มีบางมหาลัยที่เปิดรับ
_____________________________________________________________________________________________________________________
ถาม : สัตวแพทย์เรียนหนักไหม?
ตอบ : เรียนหนักมาก นอกจากการเรียนแล้วจะต้องได้ฝึกงานการฝึกงานอาจจะหนักหน่อยในช่วงปี 5 เราจะต้องสอบใบประกอบวิชาชีพด้วย มีความอดทนก็ผ่านไปได้
_____________________________________________________________________________________________________________________
ถาม : เตรียมตัวเข้าสอบสัตวแพทย์ยังไงบ้าง?
ตอบ : สำหรับน้อง ม.ปลาย ที่อยากเรียนสัตวแพทย์ อันดับแรกแนะนำให้แบ่งเวลาตั้งใจเรียนและทบทวนบทเรียนและแบ่งเวลาอ่านหนังสือสำหรับเตรียมสอบเข้าคณะสัตวแพทย์
_____________________________________________________________________________________________________________________
ถาม : วิชาที่ใช้สอบเข้าคณะสัตวแพทย์ศาสตร์มีวิชาอะไรบ้าง?
ตอบ : สำหรับวิชาที่ใช้สอบเข้าก็จะมีวิชาชีววิทยา เคมี ภาษาอังกฤษ สำหรับน้อง ๆ ที่อยากเข้าคณะนี้ อยากให้ติดตามประกาศของแต่ละมหาลัย เพราะแต่ละปีอาจมีการเปลี่ยนแปลง
_____________________________________________________________________________________________________________________
สาขาของคณะสัตวแพทยศาสตร์มีอะไรบ้าง ?
สำหรับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มีสาขาเฉพาะทางซึ่งจะมีสาขาต่าง ๆ ดังนี้
1. สาขาวิชาคลินิกศึกษาทางสัตวแพทย์
สาขาวิชาเทคนิคการสัตวแพทย์จะแบ่งออกตามระดับการศึกษาเป็น 3 ระดับ ตามคุณวุฒิ คือ นักเทคนิคการสัตวแพทย์, เจ้าหน้าที่เทคนิคการสัตวแพทย์, ผู้ช่วยสัตวแพทย์ จะเรียนหลายหมวดวิชาด้วยกัน เช่น หมวดวิชาสัตว์เลี้ยง หมวดวิชาสุกร หมวดวิชาม้า เป็นต้น วิชาที่เรียนมีทั้งวิสัญญีวิทยาทางคลินิก, โรคสุกรและการวินิจฉัยขั้นสูง, จักษุวิทยาในม้า, เทคโนโลยีชวภาพสำหรับการชันสูตรโรคสัตว์น้ำ เป็นต้น
2. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และชีวเวชศาสตร์
จะศึกษาทางด้าน ชีวิวิทยาระดับโมเลกุลพันธุกรรม ระบาดวิทยาระดับโมเลกุล การเชื่อมโมเลกุล และเชื่อมโยงความรู้ด้านพื้นฐานเข้ากับเวชศาสตร์ทำให้เกิดความรู้ใหม่ และนวัตกรรมใหม่ทางการควบคุม ป้องกันและรักษาโรคในสัตว์
3. สาขาวิชาจุลชีววิทยาทางการสัตวแพทย์
คือสาขาวิชาที่รวมถึงการตรวจหา จุลชีพที่ได้จากตัวอย่างสัตว์ป่วย ซากสัตว์หรือผลิตภัณฑ์สัตว์ วิทยาภูมิคุ้มกันทางสัตวแพทย์
การฝึกพิเศษทางวิทยาภูมิคุ้มกัน เน้นด้านการพัฒนาชีวภัณฑ์ทางการสัตวแพทย์ สำหรับการวินิจฉัยและป้องกันโรคติดเชื้อในสัตว์ ระบาดวิทยาโมเลกุลของเชื้อที่ก่อโรค ในสัตว์และโรคสัตว์สู่คน วิทยาภูมิคุ้มกันระดับโมเลกุลทางการสัตวแพทย์ การวินิจฉัยโรคสัตว์น้ำทางจุลชีววิทยา การตรวจอาหารปลอดภัยทางจุลชีววิทยาสัตวแพทย์ เป็นต้น
4. สาขาวิชาเภสัชและพิษวิทยาทางการสัตวแพทย์
จะเป็นการศึกษาวิจัยด้านยา สารเคมี และสารพิษชนิดต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพสัตว์ เป็นการศึกษาทั้งทางด้านการออกฤทธิ์ ประสิทธิภาพการตกค้างของยาและสารต่าง ๆ ในร่างกายสัตว์ ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตัวสัตว์
5. สาขาวิชาระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์
เป็นการศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดของสัตว์รวมไปถึงการประเมิน วิเคราะห์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นสำหรับโรคนั้น ๆ
6. สาขาวิชาปรสิตวิทยาทางสัตวแพทย์
จะศึกษาเกี่ยวกับด้านเชื้อปรสิตที่ทำให้เกิดโรคทั้งคนและสัตว์ รวมทั้งด้านระบาดวิทยาของโรคปรสิตในสัตว์ วิทยาภูมิคุ้มกันที่มีต่อเชื้อปรสิต ปรสิตวิทยาโมเลกุล เชื้อปรสิตที่นำโดยอาหาร น้ำ และสัตว์ เป็นต้น
คณะสัตวแพทยศาสตร์ต้องเรียนอะไรบ้างในแต่ละปี ?
ปี 1
เรียนปรับพื้นฐาน
ในช่วงปี 1 จะเรียนวิชาพื้นฐานทั่วไป เช่น ฟิสิกส์ทางการแพทย์ เคมีทั่วไป ชีววิทยาทั่วไป เคมีอินทรีย์ เป็นต้น ซึ่งวิชาพื้นฐานบางตัวต้องไปตัดเกรดกับคณะแพทยศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ด้วยและจะมีการทำแล็บอีกด้วย
ปี 2
เรียนวิชาเกี่ยวกับสัตวแพทย์มากขึ้น
ปี 2 จะเริ่มเรียนวิชาของคณะฯ ซึ่งการเรียนในคณะสัตวแพทยศาสตร์ ไม่ได้เรียนแค่เฉพาะสุนัขหรือแมวเท่านั้น แต่ยังต้องเรียนไปถึง ม้า หมู ไก่ วัว ปลา วิชาที่จะเจอ เช่น จุลกายวิภาควิทยา หลักสัตวบาล สรีรวิทยา อนามัยสิ่งแวดล้อม เภสัชวิทยา เป็นต้น เรียนตั้งแต่โครงสร้างของสัตว์และสิ่งมีชีวิตที่มองเห็นและมองไม่เห็น จนถึงสุขอนามัยในฟาร์มเลี้ยงสัตว์
ปี 3
ช่วงปิดซัมเมอร์ก่อนขึ้นปี 4
ปี 3 ปีนี้จะจบไตรภาคสมบูรณ์ในเทอมนี้ จะเป็นอีกปีหนึ่งที่เรียนหนักมาก ๆ ในช่วงปิดซัมเมอร์ก่อนขึ้นปี 4 จะมีการฝึกงานทางด้านสัตวบาลภาคสนามจะฝึกงาน 1 เดือนโดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ ในปีนี้ก็จะเรียนแบ่งเป็น 2 เทอม วิชาที่ต้องเรียน เช่น วิชาไวรัสวิทยา วิชาพยาธิวิทยาทั่วไป เป็นต้น
ปี 4
เริ่มเรียนการรักษา
ปี 4 เริ่มเข้าสู่วิชาเกี่ยวกับการรักษามากขึ้น กำลังก้าวที่จะเป็นคุณหมอ วิชาเรียนก็จะเจาะลึกลงไปอีก เช่น อายุรศาสตร์ตามระบบอวัยวะ เทคนิคการวินิจฉัยและการรักษาโรคสัตว์ รังสีวิทยา พิษวิทยา หลักการศัลยศาสตร์และวิสัญญี เทคโนโลยีชีวภาพทางการสืบพันธุ์ของสัตว์ สุขศาสตร์อาหาร กฎหมายและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ เป็นต้น เป็นช่วงเวลาที่มีทั้งเรียนแบบเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ รายงานเพิ่มขึ้น
ปี 5
สวัสดีคลินิก
ปี 5 จะเป็นวิชาคลินิกแบบเต็มตัว ก็จะมีวิชาคลินิกแบบเต็มตัว เช่น คลินิกสัตว์เล็ก คลินิกสุกร คลินิกสัตว์ปีก คลินิกม้า โค สูติวิทยา
ปี 6
เริ่มฝึกงานจริง
ช่วงปี 6 ก็จะเป็นคลินิกปฏิบัติเราจะต้องออกไปฝึกงานตามที่ต่าง ๆ ระยะเวลาฝึกงานก็จะขึ้นอยู่ที่มหาลัยการฝึกงานในส่วนนี้เราจะได้ไปฝึกงานเป็นสัตวแพทย์จริง ๆ อยู่ในโรงพยาบาลสัตว์ ถ้าเป็นสัตว์ใหญ่ เช่น หมู วัว แพะ ก็จะฝึกงานที่ฟาร์ม
ทดลองเรียนฟรี >> คลิก
สอบถามรายละเอียด >> คลิก
อยากสอบติด คณะสัตวแพทยศาสตร์
ต้องสอบวิชาอะไร
1.TPAT1 ความถนัดแพทย์ - เชาวน์ปัญญา
2.TPAT1 ความถนัดแพทย์ - จริยธรรม
3.TPAT1 ความถนัดแพทย์ – เชื่อมโยง
4..A-Level ฟิสิกส์
5.A-Level เคมี
6.A-Level ชีววิทยา
7.A-Level ชีววิทยา
8.A-Level ไทย
9.A-Level อังกฤษ
10.A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์
ควรได้คะแนนขั้นต่ำเท่าไหร่
คณะสัตวแพทยศาสตร์ RANK A
คะแนนแนะนำ 59.4
สัตวแพทย์จุฬาฯ
สัตวแพทย์มหิดล
TPAT1 ความถนัดแพทย์ (30%) คะแนนแนะนำ 65
TPAT1 ความถนัดแพทย์ คะแนนแนะนำ 65
TPAT1 ความถนัดแพทย์ คะแนนแนะนำ 70
A-Level ฟิสิกส์ (28%) คะแนนแนะนำ 55
A-Level เคมี คะแนนแนะนำ 55
A-Level ชีววิทยา คะแนนแนะนำ 55
A-Level สังคมศึกษา (7%) คะแนนแนะนำ 60
A-Level ไทย (7%) คะแนนแนะนำ 60
A-Level อังกฤษ (14%) คะแนนแนะนำ 55
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (14%) คะแนนแนะนำ 55
คณะสัตวแพทยศาสตร์ RANK B
คะแนนแนะนำ 57.2
สัตวแพทย์เกษตร
สัตวแพทย์เชียงใหม่
สัตวแพทย์ขอนแก่น
TPAT1 ความถนัดแพทย์- เชาวน์ปัญญา (30%) คะแนนแนะนำ 65
TPAT1 ความถนัดแพทย์ – จริยธรรม คะแนนแนะนำ 65
TPAT1 ความถนัดแพทย์ – เชื่อมโยง คะแนนแนะนำ 70
A-Level ฟิสิกส์ (28%) คะแนนแนะนำ 55
A-Level เคมี คะแนนแนะนำ 55
A-Level ชีววิทยา คะแนนแนะนำ 55
A-Level สังคมศึกษา (7%) คะแนนแนะนำ 60
A-Level ไทย (7%) คะแนนแนะนำ 60
A-Level อังกฤษ (14%) คะแนนแนะนำ 55
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (14%) คะแนนแนะนำ 55
คณะสัตวแพทยศาสตร์ RANK C
คะแนนแนะนำ 55
สัตวแพทย์มหานคร
สัตวแพทย์สงขลานครินทร์
สัตวแพทย์มหาสารคาม
TPAT1 ความถนัดแพทย์ – เชาวน์ปัญญา (30%) คะแนนแนะนำ 65
TPAT1 ความถนัดแพทย์- จริยธรรม คะแนนแนะนำ 65
TPAT1 ความถนัดแพทย์ – เชื่อมโยง คะแนนแนะนำ 70
A-Level ฟิสิกส์ (28%) คะแนนแนะนำ 55
A-Level เคมี คะแนนแนะนำ 55
A-Level ชีววิทยา คะแนนแนะนำ 55
A-Level สังคมศึกษา (7%) คะแนนแนะนำ 60
A-Level ไทย (7%) คะแนนแนะนำ 60
A-Level อังกฤษ (14%) คะแนนแนะนำ 55
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (14%) คะแนนแนะนำ 55