รวมข้อมูล คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ครบสุด !!

ทำความรู้จักคณะสัตวศาสตร์แลเทคโนโลยีการเกษตร

คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

    โดยคณะนี้จุดมุ่งหมายคือผลิตบุคลากรทางสัตวศาสตร์ และ เทคโนโลยีการเกษตรที่มีพื้นฐานความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมทั้งการฝึกทักษะการปฏิบัติงานให้เกิดความชำนาญในห้องปฏิบัติการของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เสริมสร้างประสบการณ์ในการทำงานในฟาร์มของเกษตรกร      

                สัตวศาสตร์  เรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ต่างๆ เน้นสัตว์เศรษฐกิจที่ใช้ในการบริโภค เช่น โคเนื้อ โคนม สุกร และสัตว์ปีก การขยายและปรับปรุงพันธุ์สัตว์ การรักษาโรคสัตว์ การจัดการผลผลิตจากสัตว์ อาหารสัตว์และโภชนศาสตร์สัตว์ การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการฟาร์ม การจัดการฟาร์มที่มุ่งเน้นสัตว์เศรษฐกิจ และเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่สำคัญของประชากรในภูมิภาค

วิชาที่ต้องเรียน เช่น การผลิตเนื้อสัตว์ การดูแลสัตว์เลี้ยง การอนามัยสัตว์ พฤติกรรมสัตว์ การพัฒนางานปศุสัตว์ เทคโนโลยีชีวภาพสำหรับสัตวศาสตร์  เป็นต้น

                เทคโนโลยีการเกษตร  เรียนรู้ความรู้ วิทยาการ เทคนิค วิธีการ เครื่องจักรกลการเกษตรที่เกษตรกรนำมาใช้ปรับปรุงหรือเพิ่มผลผลิตในการเกษตร เนื่องจากโครงสร้างประชากรของประเทศกำลังเปลี่ยนไปสู่ประชากรวัยชรา สัดส่วนของประชากรวัยเด็กลดลงในขณะที่วัยชราเพิ่มสูงขึ้น การผลิตในภาคการเกษตรจึงไม่สามารถผลิตแบบพึ่งพาแรงงานได้อีกต่อไป ความต้องการเทคโนโลยีระดับสูงและเครื่องทุ่นแรงมีมากขึ้น

                วิชาที่ต้องเรียน เช่น เครื่องจักรกลการเกษตร พฤกษศาสตร์ กีฏวิทยาทางการเกษตร ชีววิทยาโมเลกุลของพืช การจัดการธุรกิจฟาร์ม โรคพืชวิทยาเบื้องต้น หลักการขยายพันธุ์พืช สรีรวิทยาการผลิตพืช เป็นต้น

คำถามเจอบ่อยเด็กอยากติดคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

ถาม : สัตวศาสตร์และสัตวแพทย์แตกต่างกันอย่างไร?

ตอบ : สัตวศาสตร์นั้นเรียน 4 ปี และเรียนเพื่อจะทำการวิจัยและเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์มุ่งเน้นการเรียนรู้ไปที่สัตว์เศรษฐกิจที่ใช้ในการบริโภคโดยที่สัตวแพทย์ศาสตร์นั้นเรียน 6 ปี และเรียนเพื่อวิจัย “รักษา” สัตว์มากกว่า

_____________________________________________________________________________________________________

ถาม : เรียนจบแล้วทำอาชีพอะไร

ตอบ : หลังสำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายอาชีพ เช่น นักสัตวบาล  นักวิชาการ  นักวิจัย พนักงานประจําห้องปฏิบัติการโภชนศาสตร์เนื้อสัตว์  พนักงานขายอาหารสัตว์ อุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ และเวชภัณฑ์   พนักงานส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ ผู้จัดการฟาร์มบริษัทหรือประกอบอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องในทางสัตวศาสตร์

_____________________________________________________________________________________________________

ถาม : อยากเข้าคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีต้องเรียน ม.ปลายสายอะไร

ตอบ : ชั้นมัธยมปีที่ 6 สายวิทย์-คณิต หรือ สายศิลป์-คำนวณ

_____________________________________________________________________________________________________

ถาม : คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีเกดเฉลี่ยเท่าไหร่ถึงเข้าได้

ตอบ : เกดเฉลี่ยต้องไม่ต่ำกว่า 2.75 หรือถ้า 3.00 ขึ้นจะดีเลย

_____________________________________________________________________________________________________

ถาม : สัตวศาสตร์และเทคโนโลยีเน้นเรียนอะไร

ตอบ :  จะเน้นเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติที่มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการขยายพันธุ์สัตว์ การจัดการด้านอาหารสัตว์ การใช้ยาในฟาร์ม และการจัดการด้านต่าง ๆ ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ซึ่งมีเป้าหมายในการเรียนรู้เพื่อเลี้ยง ดูแล วิจัย ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ โดยจะเน้นไปทางด้านสัตว์เศรษฐกิจ

_____________________________________________________________________________________________________ 

ถาม : ต้องเรียน 6 ปีเหมือนสัตวแพทย์ไหม

ตอบ : ใช้เวลาในการเรียนทั้งหมด 4 ปีเท่านั้น

_____________________________________________________________________________________________________

ถาม : หน้าที่ของสัตวบาล/สัตวศาสตร์ คืออะไร

ตอบ : ควบคุม ดูแล การปฎิบัติงานกระบวนการขยายพันธุ์สัตว์,การสุขาภิบาลสัตว์,การดูแลสิ่งแวดล้อมของสัตว์และการจัดการด้านการค้าสัตว์และผลผลิตต่างๆที่ได้มาจากสัตว์

_____________________________________________________________________________________________________

ถาม : เรียนยากไหม

ตอบ : เรียนยากไม่ยากขึ้นอยู่ที่ตัวน้องๆว่าตั้งใจแค่ไหนการเรียนคณะนี้ไม่ค่อยเครียดเท่าไหร่เราจะได้ดูแลสัตว์ออกปฏิบัติจริงน้องๆจะสนุกกับดารเรียนแน่นอน

สาขาของคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี การเกษตรมีอะไรบ้าง ?

สำหรับคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีมีสาขาดังนี้

1. สาขาวิชาสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

                เรียนเกี่ยวกับสัตว์เศรษฐกิจ จำพวกไก่ไข่ ไก่เนื้อ โคนม โคเนื้อ หมู แพะ แกะ ม้า อาหารของสัตว์แต่ละช่วงอายุ ความต้องการทางโภชนะของสัตว์ การนำผลิตภัณฑ์ของสัตว์ไปแปรรูป การเลี้ยงสัตว์เพื่อส่งเสริมรายได้เกษตรกร เป็นต้น

2. สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำ

                ก็จะเรียนคล้ายๆ กับคณะประมงมีการเรียนวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ชีววิทยาของสัตว์น้ำทั้งที่ไม่มีกระดูกสันหลังและมีกระดูกสันหลัง ปลาสวยงาม โรคสัตว์น้ำและการรักษา การเพาะพันธุ์ เพาะเลี้ยง ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย เทคโนโลยีในการเลี้ยง รวมไปถึงอาหารสัตว์น้ำ

3. สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช

                การเรียนตามชื่อสาขาเลยจะเรียนในเรื่องการขยายพันธ์พืชต่างๆ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การปลูกพืชโดยใช้แสงเทียมและเครื่องมือนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย

upload success
upload fail
File
uploading