รวมข้อมูล คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ครบสุด!!

คำถามเจอบ่อยเด็กอยากติดคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

ถาม : อยากเรียนคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาต้องจบสายวิทย์หรือสายศิลป์?     

ตอบ : ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องจบแผนการเรียนอะไร แต่เด็กสายวิทย์จะค่อนข้างได้เปรียบกว่า เพราะระบบแอดมิชชั่นปัจจุบัน ตอนสอบเข้าก็ต้องใช้ PAT 2 และในตอนปีหนึ่งจะต้องเรียนพวกวิชาพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา เช่น กายวิภาคและระบบไหลเวียน สถิติวิทยาศาสตร์ชีววิทยา

___________________________________________________________________________________________

ถาม : คณะนี้ต้องเรียนกีฬาเยอะมั้ย?

ตอบ : ตามชื่อคณะเลยว่าวิทยาศาสตร์การกีฬา ดังนั้นน้อง ๆ จะได้เรียนกีฬากันตั้งแต่ปีหนึ่งเลยทีเดียวในสัปดาห์นึงก็อาจจะเรียนหลายวัน

__________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : ผู้หญิงเรียนคณะนี้ได้มั้ย?

ตอบ : ผู้หญิงก็เรียนคณะนี้ได้ สำหรับคนที่รักสุขภาพก็ถูกใจเลยทีเดียวเพราะมีวิชาน่าเรียนอย่างว่ายน้ำ โยคะ แอโรบิกให้เลือกเรียน

__________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาเรียนอะไร?

ตอบ : คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาเรียนเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพร่างกายและจิตใจของนักกีฬาให้สามารถเล่นกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ สรีรวิทยา กายวิภาคศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา ชีวกลศาสตร์ โภชนาการ ศึกษาเกี่ยวกับระบบการทำงานของมนุษย์ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

__________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาจบมาทำงานอะไร?

ตอบ : จบมาจะทำเป็นโค้ชฝึกสอนกีฬา ใช้ความรู้ทางด้านกีฬานั้น ๆ รวมถึงเรื่องกายวิภาคศาสตร์และจิตวิทยาการกีฬา กำหนดรูปแบบการฝึกซ้อมที่เหมาะสมกับนักกีฬา หรือจะเป็นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ทำงานตามทีมกีฬาต่าง ๆ ดูแลเกี่ยวกับอาหาร เทคนิคกีฬา จิตวิทยา และดูแลร่างกายของนักกีฬาก็ได้

__________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : จบวิทยาศาสตร์เป็นครูพละได้ไหม?

ตอบ : ในการรับราชการ ก็คือไม่ได้เพราะครูพละก็คือการประกอบอาชีพราชการ น้อง ๆ ต้องมีใบประกอบวิชาชีพในสายคณะนี้ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ แต่ก็ไม่เสมอไปนะน้อง ๆ ที่จบคณะนี้ก็สามารถเป็นครูในโรงเรียนเอกชน หรือโรงเรียนนานาชาติได้ เพราะโรงเรียนพวกนี้ส่วนใหญ่จะมีฟิตเนส เขาก็จะอยากได้นักวิทยาศาสตร์การกีฬาไปประจำเพื่อดูแลและสอนเด็ก

__________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : จะเข้าเรียนคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา อยู่ ๆ อยากเปลี่ยนสายเรียนอย่างอื่นได้ไหม?

ตอบ : จริง ๆ เปลี่ยนสายได้ แต่ก็ต้องคิดให้ดี ๆ ก่อน เพราะเราจะเสียเวลาที่เรียนไปแล้วต้องเริ่มเรียนใหม่ทางที่ดี แนะนำน้องค้นหาตัวเองให้พบว่าอยากเรียนอะไรและอะไรที่ใช่จริง ๆ ดีกว่า

__________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : เรียนคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาดียังไง?

ตอบ : สายออกกำลังกาย สายเล่นกีฬา สายดูแลสุขภาพ คณะนี้จะตรงกับสิ่งที่น้องต้องการมาก ๆ น้องจะรู้ถึงวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐาน ข้อดีที่ทำให้คณะนี้น่าเรียนมาก ๆ คือสุขภาพสำคัญที่สุด งานที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจะเป็นที่ต้องการมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งก็คืองานของสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์การกีฬาตามสโมสรกีฬา ก็ยังสามารถเป็นเทรนเนอร์ได้

__________________________________________________________________________________________________________________

สาขาของคณะวิทยาศาสตร์การกีฬามีสาขาไหนบ้าง ?

            สำหรับคณะวิทยาศาสตร์การกีฬามีสาขาเฉพาะทางซึ่งจะมีสาขาต่างๆ ดังนี้

1. กายวิภาคศาสตร์

            จะเรียนในเรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างของร่างกาย ที่ประกอบขึ้นเป็นรูปร่าง สัดส่วนของร่างกายของนักกีฬาแต่ละคน ได้แก่ กระดูก กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ หัวใจ ปอด หลอดเลือด เม็ดเลือดแดง เซลล์ประสาท เป็นต้น

2. สรีรวิทยา 

            สำหรับสาขานี้จะเรียนในเรื่องการทำงานและการทำหน้าที่ของอวัยวะระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งสามารถกระตุ้นและพัฒนาศักยภาพให้ดีขึ้นได้ด้วยระบบการฝึกที่ถูกต้องเหมาะสม

3. นันทนาการศาสตร์และการจัดการกีฬา

            เรียนรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้นำทางนันทนาการ หรือผู้นำเยาวชน และสามารถบริหารจัดการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หรือการจัดนันทนาการเพื่อการบำบัด

4. ชีวกลศาสตร์ 

            เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็น และข้อต่อ  การใช้แรงในการเคลื่อนไหวหรือปฏิบัติทักษะอย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในแต่ละชนิดหรือประเภทกีฬา นำไปสู่การพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องทางด้านเทคนิคทักษะกีฬาแต่ละบุคคล

5. โภชนาการทางการกีฬา 

            ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าของอาหารแต่ละชนิด และรู้จักเลือกรับประทานอาหารให้ถูกต้อง ได้สัดส่วน และคุณภาพในแต่ละช่วงของการฝึกซ้อมและแข่งขันมีผลต่อการใช้พลังงานของนักกีฬาแค่ละคน
 

6. ทักษะและการฝึกซ้อมกีฬา 

            จะเป็นในเรื่องหลักการกำหนดรูปแบบวิธีการฝึกซ้อมที่เหมาะสมกับนักกีฬาแต่ละคน

7. จิตวิทยาการกีฬา 

            คือความรู้เกี่ยวกับการคิดการควบคุมทักษะการเคลื่อนไหวและทักษะกีฬา ตลอดจนการตัดสินใจในแต่ละสถานการณ์ในการฝึกซ้อมและแข่งขันได้อย่างถูกต้อง

8. เวชศาสตร์การกีฬา 

            คือ ศาสตร์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน บำบัดรักษา และฟื้นฟู สภาพร่างกายให้กับนักกีฬาทั้งในสภาวะปกติและในระหว่างการฝึกซ้อมเพื่อช่วยเสริมให้สมรรถภาพทางกายอยู่ในสภาวะที่สมบูรณ์และพร้อมที่จะใช้งานได้ดีที่สุด


9. เทคโนโลยีทางการกีฬา 

            เป็นสาขาเรียนเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยสนับสนุนในการพัฒนาส่งเสริม ตลอดจนการแก้ไขปัญหา ข้อบกพร่องให้กับนักกีฬาเพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพให้กับผู้ฝึกสอนกีฬาและนักกีฬา

10. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา

         จะเรียนเกี่ยวกับสรีรวิทยาการออกกำลังกายและการกีฬา ชีวกลศาสตร์การกีฬา รวมไปถึงโภชนาการการกีฬา เวชศาสตร์การกีฬา จิตวิทยาการกีฬา และวิศวกรรมและเทคโนโลยีการกีฬา โดยนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารและการจัดการเพื่อพัฒนาความสามารถของผู้ออกกำลังกายและนักกีฬา เป็นต้น

11. การโค้ชกีฬาและจิตวิทยาการกีฬา

         สำหรับสาขานี้จะเรียนความรู้เกี่ยวกับกระบวนการคิด การควบคุมทักษะการเคลื่อนไหวและทักษะกีฬา รวมถึงการตัดสินใจในแต่ละสถานการณ์ของการฝึกซ้อมและแข่งขันได้อย่างถูกต้อง

12. วิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์

         จะเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการการกีฬา สุขภาพด้านต่าง ๆ สุขภาพส่วนบุคคล หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจ เป็นการนำความรู้มาประยุกต์ช่วยในกาทำงานในส่วนของการดูแลสุขภาพของประชาชน รวมไปถึงการให้บริการด้านสุขภาพในโรงพยาบาล สถานบริการสาธารณสุข และโรงงานต่าง ๆ ให้ขึ้น

คณะนี้เรียนอะไรในแต่ละปี ?

ปี 1

เรียนพื้นฐาน

         สำหรับปี 1 จะเรียนพื้นฐานวิชาทั่ว ๆ ไป ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ น้อง ๆ อาจจะเคยเรียนมาแล้วตอนมัธยมปลาย แต่ความแตกต่างก็คือตอนเรียนมัธยม เนื้อหาจะน้อยกว่าทำให้เรามีเวลาเรียนมากกว่าและเนื้อหาจะง่ายกว่าแต่ในปี 1 น้อง ๆ จะต้องเรียนทั้งหมดภายใน 1 เทอมและเนื้อหาจะยากขึ้นรวมไปถึงน้อง ๆ จะได้ทำแล็บด้วย ในปีนี้น้อง ๆ จะได้เรียนในส่วนวิชากีฬา เช่น จะได้ว่ายน้ำ รวมไปถึงภาษาอังกฤษก็ต้องเรียนด้วยจะได้เรียนร่วมกันกับคณะอื่น ๆ ด้วย

ปี 2

เนื้อหาวิชาเพิ่มมากขึ้น

         ปี 2 สำหรับปีนี้เนื้อหาในการเรียนจะเยอะมาก ๆ เรียนวิชาภาคมากขึ้น จะเน้นเรื่อง Anatomy ก็จะเรียนเรื่องกายวิภาคศาสตร์ ในปีนี้ก็ยังคงได้เรียนวิชากีฬาอยู่ ส่วนมากเนื้อหาจะเจาะลึกเกี่ยวกับวิชากีฬาปีนี้น้อง ๆ ก็จะได้ทำ Project ด้วย

ปี 3

เรียนเจาะลึกในวิชาเอก + ฝึกงาน

         สำหรับปี 3 นี้เนื้อหาก็ยังคงหนักเหมือนเดิม แล้วปีนี้น้อง ๆ ก็จะได้เสื้อกาวน์ที่บ่งบอกถึงความสำเร็จที่อดทนเรียนมาถึงปีนี้ ผ่านมาครึ่งทางสำหรับการเรียน   วิชาที่ต้องเรียนเลยคือ โภชนาการว่าต้องกินยังไงกินอะไรรวมไปถึงการออกกำลังและวิชาในเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับกีฬาและวิชาสัมมนา จะมีการทำวิจัยด้วยเพราะใกล้จบแล้วรวมไปถึงปี 3 นี้น้อง ๆ ต้องออกไปฝึกงานกันด้วย

ปี 4

ปีสุดท้ายแล้ว

         สำหรับปี 4 นี้วิชาเรียนจะไม่หนัก แต่จะไปหนักในการทำวิจัยต่อจากปี 3 แล้วนำเสนอวิจัยที่เราได้ทำมาในส่วนเนื้อหาวิชาที่จะได้เรียน คือเรียนในเรื่องเทคโนโลยีการกีฬาและเทคโนโลยีการสื่อสารทางการกีฬาปีนี้ยังคงต้องฝึกงานอยู่ในเทอมสุดท้าย


ทดลองเรียนฟรี >> คลิก


สอบถามรายละเอียด >> คลิก

อยากติด คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
ต้องสอบวิชาอะไร

  1. A-Level คณิต
  2. A-Level ไทย
  3. A-Level สังคม
  4. A-Level อังกฤษ
  5. A-Level ฟิสิกส์
  6. A-Level เคมี
  7. A-Level ชีวะ
  8. TGAT 1
  9. TGAT 2
  10. TGAT 3

อยากสอบติด คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
ควรได้คะแนนขั้นต่ำเท่าไหร่

จุฬา ฯ

รอบ 3

A-Level คณิต 20% 30 คะแนน

A-Level ฟิสิกส์ 20% 30 คะแนน

A-Level เคมี 20% 55 คะแนน

A-Level ชีวะ 20% 65 คะแนน

TGAT 20% 250 คะแนน

รอบ 4

TGAT 10% 250

TGAT 1 10% 80 คะแนน

TGAT 2 30% 120 คะแนน

มหิดล

รอบ 3

A-Levelคณิต 30 คะแนน

A-Levelฟิสิกส์ 30 คะแนน

A-Levelเคมี 55 คะแนน

A-Levelชีวะ 65 คะแนน

A-Levelไทย 70 คะแนน

A-Levelสังคม 60 คะแนน

A-Levelอังกฤษ 60 คะแนน

รอบ 4

TGAT 30% 250

TGAT 1 10% 60 คะแนน

TGAT 2 30% 100 คะแนน

ธรรมศาสตร์

รอบ 3

TGAT 10% 250 คะแนน

TGAT 1 10% 60 คะแนน

TGAT 2 30% 100 คะแนน

รอบ 4

TGAT 10% 250 คะแนน

TGAT 1 10% 60 คะแนน

TGAT 2 30% 100 คะแนน

upload success
upload fail
File
uploading