คำถามเจอบ่อยเด็กอยากติดคณะรัฐศาสตร์
ถาม : อยากเข้ารัฐศาสตร์ต้องเรียนมัธยมปลายสายอะไร?
ตอบ : สำหรับคณะรัฐศาสตร์ไม่ได้กำหนดว่าต้องจบ ม.ปลายสายอะไรสามารถเข้าได้หมดทุกสาย
__________________________________________________________________________________________________________________
ถาม : รัฐศาสตร์เรียนอะไรทำไมถึงอยากเรียน ?
ตอบ : เป็นการนำรายละเอียดของสังคมศาสตร์มาเรียนรวม ๆ กัน หรือการเรียนศาสตร์แห่งรัฐให้มีการบริหารจัดการรัฐให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น รัฐศาสตร์เป็นการเรียนที่ทำให้คนทำงานหลายสาขามาก เพราะเป็นศาสตร์แห่งการวิเคราะห์ ใช้งานได้จริง และสอนให้คนเปิดใจ ยอมรับที่จะปรับตัวกับสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น
__________________________________________________________________________________________________________________
ถาม : ระยะเวลาเรียนทั้งหมดกี่ปี?
ตอบ : ใช้เวลาเรียน 4 ปี
__________________________________________________________________________________________________________________
ถาม : ต้องเตรียมตัวก่อนเรียนยังไงและเน้นเรื่องอะไร?
ตอบ : สำหรับการเตรียมตัวในสาขานี้ไม่ยากเลยคือต้องมีความรู้ทางด้านสังคม และ ภาษาไทย รวมทั้งมีความรู้รอบตัวเกี่ยวกับสถานการณ์บ้างเมือง และ เศรษฐกิจภายในประเทศ และอีกเรื่องที่ต้องฝึกฝนคือการเขียนการเขียนเป็นลำดับขั้นตอน
__________________________________________________________________________________________________________________
ถาม : จบรัฐศาสตร์ทำงานราชการได้ไหม?
ตอบ : สามารถรับราชการได้ เช่น ปลัดอำเภอ และข้าราชการตามกรม กอง และกระทรวงต่าง ๆ
__________________________________________________________________________________________________________________
ถาม : จบรัฐศาสตร์ทำงานอะไรได้บ้าง?
ตอบ : เจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล,นักการทูตและนักการเมืองรวมไปถึงพนักงานในหน่วยงาน รัฐวิสาหกิจ พนักงานธนาคาร และบริษัทเอกชน
__________________________________________________________________________________________________________________
ถาม : รัฐศาสตร์เรียนยากไหม?
ตอบ : ถ้าตั้งใจและขยันสม่ำเสมอก็ไม่ยากทบทวนอ่านทบทวนบ่อยๆ คิดอะไรอย่างเป็นระบบ และ มีเหตุผล
__________________________________________________________________________________________________________________
ถาม : คณะ รัฐประศาสนศาสตร์ กับ รัฐศาสตร์ ต่างกันอย่างไร?
ตอบ : รัฐศาสตร์จะเรียนเรื่องการเมือง การปกครอง การเข้าสู่อำนาจ การลงจากอำนาจ ส่วนรัฐประศาสนศาสตร์เรียนเรื่องการบริหาร การบริหารภาครัฐทั้งหมด
__________________________________________________________________________________________________________________
สาขาของคณะรัฐศาสตร์มีสาขาไหนบ้างที่น่าสนใจ ?
สำหรับคณะรัฐศาสตร์ มีสาขาต่าง ๆ ดังนี้
- สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
การศึกษาในสาขานี้ จะเรียนเกี่ยวกับปรัชญาและความคิดทางการเมืองเช่น รัฐธรรมนูญ รัฐสภา พรรคการเมือง การเลือกตั้งและปัญหาทางการเมือง และสังคมที่สำคัญๆ เช่น ธุรกิจกับการเมือง ทหารกับการเมือง การเมืองของผู้ใช้แรงงาน ชาวนา ฯลฯ เป็นการทำความเข้าใจกับปรากฎการณ์ทางการเมืองและสังคมที่แวดล้อมตัวเรา
2. สาขาการระหว่างประเทศ
เป็นสาขาที่มุ่งทำความเข้าใจกับระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆ มีความสำคัญทั้งต่อภาครัฐบาลและภาคเอกชน
3. สาขาบริหารรัฐกิจ สาขารัฐประศาสนศาสตร์
การศึกษาในสาขานี้จะเกี่ยวกับระบบราชการ และหน่วยงานของรัฐ ประเภทต่าง ๆ การบริหารบุคคล การคลัง งบประมาณ และการวางแผนจัดทำโครงการ เทคโนโลยีการบริหาร
4. สาขาวิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา
ในส่วนของสาขานี้จะศึกษาเน้นหนักเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคม และวัฒนธรรม ในฐานะที่เป็นสิ่งนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในรูปแบบต่าง ๆ ภายใต้โครงสร้างและการจัดระเบียบ แต่ละสังคมที่แตกต่างกันตามลักษณะวัฒนธรรม และศึกษาการประยุกต์หลักการประยุกต์หลักวิชาเพื่อการปฏิบัติตามลักษณะวัฒนธรรม และศึกษาการประยุกต์หลักวิชาเพื่อการปฏิบัติงาน
5. สาขางานยุติธรรมและความปลอดภัย
สำหรับสาขานี้ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานในระบบงานยุติธรรม ได้แก่ ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ และคุมประพฤติ จะเรียนหนักไปในเรื่องหลักและทฤษฎีการบริหาร กระบวนการและการบริหารคดี หลักการสืบสวนสอบสวน ทฤษฎีทางอาญาวิทยา การบังคับใช้กฎหมาย การป้องกันอาชญากรรมและปัญหาสังคม หลักยุติธรรมชุมชน และการแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดในสังคม
คณะนี้เรียนอะไรในแต่ละปี ?
ปี 1
เรียนพื้นฐานทุกวิชา
ชั้นปีที่ 1 ในส่วนของการเรียนนั้นชั้นปี 1 ทุกคนจะเรียนรวมกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะวิชาที่เรียนจะเป็นหมวดที่เรียกว่า วิชาแกน เช่น วิชารัฐศาสตร์เบื้องต้น , ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น ,ระบบรัฐและประชาชน และกฎหมายเบื้องต้นในชั้นปีที่ 1 นี้ เป็นวิชาที่เราจะเรียนเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นของทั้ง 3 เอก เพื่อไปเป็นพื้นฐานต่อยอดในวิชาเอกตอนปีสูง ๆ ขึ้นไปเป็นการเปิดโอกาสให้น้อง ๆ ได้รู้ว่าตัวเองชอบหรือเหมาะกับการเรียนเอกไหนมากกว่ากันจะได้ใช้ในการตัดสินใจอีกรอบ ก่อนที่จะแยกกันไปเรียนตามเอกของตนเองในปี 2
ปี 2
เข้าสู่วิชาเอก
ชั้นปีที่ 2 การเรียนนั้นจะมีความเข้มข้นและชัดเจนขึ้น เนื่องจากเราจะได้เริ่มเรียนในรายวิชา เอกบังคับ เป็นวิชาเฉพาะเอกที่เราเลือกซึ่งวิชาเอกที่ว่านี้ก็เป็นเหมือนตัวต่อเนื่องมาจากปี1จะเริ่มเรียนจากขั้นพื้นฐานและจะเป็นหมวดของ วิชาโท ซึ่งวิชาโทตัวนี้เหมือนเป็นวิชาที่เราสามารถเลือกได้มาอยากเรียนวิชาของคณะนอกจากวิชาเอก
ปี 3
เข้าสู่วิชาเอก
ชั้นปีที่ 3 เป็นชั้นปีที่มีความเข้มข้นทางเนื้อหามากเพราะจากการที่เราปูพื้นมาจากรายวิชาในปี 2 แล้วนั้น การเรียนในชั้นปีที่ 3 จะเป็นเหมือนการนำเอาเหล่าเนื้อหาทฤษฎีที่เรียนมาในตอนปี 2 มาประยุกต์ใช้ในเชิงคิดวิเคราะห์ อาจจะเรียกได้ว่าไม่ค่อยเน้นการเรียนการสอนในรูปแบบของเลคเชอร์มากมายนั้น แต่จะเน้นไปที่รูปแบบของทำงานกลุ่มหรือการอ่านเปเปอร์ในจำนวนมาก จะมีการทำรายงานที่เป็นบทความวิชาการและก็จะมีการพรีเซ็นต์นำเสนอต่าง ๆ
ปี 4
เข้าสู่วิชาเอก + ฝึกงาน
ชั้นปีที่ 4 ในชั้นปีนี้ เทอม 1 เราจะเรียนวิชาในเอกของเราเพียงไม่กี่ตัว ประมาณ 3-5 ตัว ซึ่งที่ตารางเรียนไม่ได้แน่นมาก ซึ่งถ้าและเทอม 2 จะเป็นการฝึกงานทั้งเทอมเลย โดยก่อนจะสิ้นเทอม 1 ทางอาจารย์จะให้เราเลือกที่ฝึกงานกันเองโดยเราสามารถเลือกติดต่อไปได้ทั้งบริษัทเอกชนหรือหน่วยงานราชการก็ได้
อยากสอบติด คณะรัฐศาสตร์
ต้องสอบวิชาอะไร
- TGAT (คะแนนรวม)
- A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2
- A-Level สังคมศึกษา
- A-Level อังกฤษ
ควรได้คะแนนขั้นต่ำเท่าไหร่
รัฐศาสตร์ Rank A (จุฬาฯ)
คะแนนแนะนำ 80
TGAT (คะแนนรวม) (10%) คะแนนแนะนำ 80
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (20%) คะแนนแนะนำ 80
A-Level สังคมศึกษา (40%) คะแนนแนะนำ 80
A-Level อังกฤษ (30%) คะแนนแนะนำ 80
มนุษย์ รัฐฯ Rank B (ธรรมศาสตร์)
คะแนนแนะนำ 65
TGAT1 อังกฤษ (15%) คะแนนแนะนำ 65
TGAT2 ตรรกะ (15%) คะแนนแนะนำ 65
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (20%) คะแนนแนะนำ 65
A-Level สังคมศึกษา (25%) คะแนนแนะนำ 65
A-Level อังกฤษ (25%) คะแนนแนะนำ 65
สังคม รัฐศาสตร์ Rank C (เกษตรฯ)
คะแนนแนะนำ 60
TGAT (คะแนนรวม) (10%) คะแนนแนะนำ 60
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (10%) คะแนนแนะนำ 60
A-Level วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (10%) คะแนนแนะนำ 60
A-Level สังคมศึกษา (10%) คะแนนแนะนำ 60
A-Level ไทย (20%) คะแนนแนะนำ 60
A-Level อังกฤษ (20%) คะแนนแนะนำ 60