รวมข้อมูลคณะฝั่งอินเตอร์ในไทย (กลุ่ม Science)

B.Eng (Bachelor of Engineer) วิศวกรรมศาสตร์

          ถือว่าเป็นอีกสาขาที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ และมีมหาวิทยาลัยเปิดสอนหลักสูตรอินเตอร์ในกลุ่มวิศวกรรมมากที่สุด ในกลุ่มของวิศวะนั้น จะเน้นวิชาคำนวณเป็นส่วนมาก แต่ก็มีการเรียนวิชาการจัดการ ,การบริหาร หรือกระทั่งทางกฎหมายด้วย ขึ้นกับแต่ะละสาขาที่เลือกเรียน โดยหลักสูตรอินเตอร์จะมีทั้งสาขาที่เหมือนกับทางหลักสูตรฝั่งไทย และสาขาที่แตกต่างไปเพื่อปรับตัวให้สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกนี้

สาขาต่างๆ ของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ฝั่งอินเตอร์ จะมีทั้งที่เหมือนกับฝั่งไทย และมีบางหลักสูตรที่แตกต่างไป ดังนี้

          วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ – ศึกษาศาสตร์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและการสร้างระบบคอมพิวเตอร์ ทั้ง ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเน็ตเวิร์คต่าง ๆ ทั้งหมด และวิศวกรรมไฟฟ้าบางส่วนด้วย

          วิศวกรรมเครื่องกล – เน้นศึกษาความรู้ด้าน ฟิสิกส์ เคมี มาประยุกต์ใช้กับงานด้านกลศาสตร์ พลศาสตร์ อุณหพลศาสตร์ กลศาสตร์ของไหลและพลังงาน รวมถึงการออกแบบเครื่องจักรกล เช่น ระบบไฮดรอลิก หุ่นยนต์ พลศาสตร์การบิน การควบคุมการผลิตเครื่องจักร

          วิศวกรรมไฟฟ้า – ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีต่าง ๆ การประยุกต์การใช้ไฟฟ้าและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น การใช้งานสมการในการวิเคราะห์ การผลิตและส่งถ่ายพลังงานไฟฟ้า การจัดการกับสัญญาณไฟฟ้า อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า ฯลฯ

          วิศวกรรมโทรคมนาคม – ศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสาร สัญญาณ การส่ง การรับข้อมูล การวิเคราะห์สัญญาณต่าง ๆ เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาระบบโทรคมนาคม สายแลน คลื่นโทรศัพท์ Wireless ดาวเทียม ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสัญญาณ

          วิศวกรรมโยธา – ศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนและควบคุมการสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น ถนน สะพาน ระบบขนส่ง อาคาร ระบบสุขาภิบาล วิจัยและให้คำแนะนำทางด้านเทคนิคต่าง ๆ ในการใช้วัสดุและทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

          วิศวกรรมเคมี – ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบ วางแผน ควบคุมกระบวนการทางเคมี และพัฒนากระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเคมีต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการกายภาพ เคมี หรือชีวเคมี ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนส่วนผสม สถานะ และคุณสมบัติของวัตถุดิบให้กลายไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามความต้องการอย่างปลอดภัย

          วิศวกรรมอุตสาหการ – ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการบริหารจัดการ การออกแบบอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิตต่าง ๆ รวมไปถึงการควบคุมเครื่องจักรกลในกระบวนการผลิตสมัยใหม่

          วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม -เป็นสาขาวิชาที่มุ่งเน้นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การบำบัดน้ำเสีย การควบคุมมลพิษทางอากาศ การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย รวมถึงการผลิตน้ำประปาและการจัดการระบบสิ่งแวดล้อม

          วิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ – ศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคทางด้านการออกแบบ และควบคุม สำหรับการขนส่ง จัดเก็บ เคลื่อนย้าย สินค้าและบริการ รวมไปถึงการวิเคราะห์ วิจัยปัญหาในภาคอุตสาหกรรม และส่วนที่ เกี่ยวข้องในระบบโซ่อุปทาน

          วิศวกรรมเคมี – ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบ วางแผน ควบคุมกระบวนการทางเคมี และพัฒนากระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเคมีต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการกายภาพ เคมี หรือชีวเคมี ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนส่วนผสม สถานะ และคุณสมบัติของวัตถุดิบให้กลายไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามความต้องการอย่างปลอดภัย

          วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร– ศึกษาเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม การสร้างซอฟต์แวร์ เพื่อนำมาซึ่งเครื่องมือในการสื่อสารที่จะช่วยแก้ปัญหาและสร้างประโยชน์ให้กับสังคม

          วิศวกรรมซอฟต์แวร์ – ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “การเขียนโปรแกรม” โดยเป็นการเรียนรู้ในกระบวนการพัฒนาโปรแกรมตั้งแต่ต้นจนจบ เริ่มตั้งแต่การประเมินความต้องการของลูกค้า, การออกแบบโครงสร้างของโปรแกรม, การวางแผนกระบวนการพัฒนา, การ Coding, การทดสอบโปรแกรม เป็นต้น

          วิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ – ศึกษาเกี่ยวกับหุ่นยนต์ คิดค้นตัวสมอง รวมถึงออกแบบโครงสร้างต่าง ๆ ทั้งหมดให้ทำงานเชื่อมโยงกันได้อยากมีประสิทธิภาพ ซึ่งแน่นอนว่าในอนาคตหุ่นยนต์จะกลายมาเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในแทบทุกอุตสาหกรรม

          วิศวกรรมชีวการแพทย์ – สาขาวิชานี้เป็นการนำเอาความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์ มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เพื่อออกแบบสร้างหรือพัฒนาซอฟต์แวร์ อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน ค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีความซับซ้อนและมีประสิทธิภาพสูง เช่น การสร้างอวัยวะเทียม หรือพัฒนาอุปกรณ์การแพทย์ชิ้นใหม่ ๆ

          วิศวกรรมการเงิน –  ศึกษาทางด้านการเงิน บัญชี บริหารธุรกิจ และเศรษฐศาสตร์ โดยนำความรู้ด้านคณิตศาสตร์และสถิติ เป็นพื้นฐานสำคัญไปสู่ทักษะด้านการวิเคราะห์การเงิน การลงทุน และการจัดการความเสี่ยง ตลอดจนมีความสามารถในการใช้เครื่องคำนวณ เครื่องคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี

          วิศวกรรมนาโน – ศึกษาเกี่ยวกับเครื่องกล ยานยนต์ รวมถึงการออกแบบ เพื่อที่นิสิตจะสามารถนำองค์ความรู้ต่าง ๆ มาผสมผสานและประยุกต์ใช้ได้อย่างลงตัว

          วิศวกรรมอากาศยาน -ศึกษาเกี่ยวกับเครื่องบินและยานยนต์ รวมถึงมีชมรมสำหรับโดรนที่กำลังจะกลายมาเป็นพาหนะที่ใช้ทดแทนทรัพยากรมนุษย์อีกด้วย

          วิศวกรรมยานยนต์ -ศึกษาเกี่ยวกับเครื่องกล ยานยนต์ รวมถึงการออกแบบ เพื่อที่นิสิตจะสามารถนำองค์ความรู้ต่าง ๆ มาผสมผสานและประยุกต์ใช้ได้อย่างลงตัว

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

1.ISE CU : International School of Engineering
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  เปิดสอน 5 สาขาวิชา ได้แก่

          1. วิศวกรรมนาโน (Nano Engineering : NANO)

          2. วิศวกรรมอากาศยาน (Aerospace Engineering : AERO)

          3. วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Engineering : ICE) 

          4. วิศวกรรมการออกแบบและผลิตยานยนต์ (Automotive Design and Manufacturing Engineering : ADME) 

          5. วิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ (: Robotics and Artificial Engineering : RAIE)

และยังมีอีก 1 สาขาวิชาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ คือ

             วิศวกรรมเคมีและกระบวนการ (Chemical and Process Engineering : ChPE)

สอบอะไรบ้าง

  – English Proficiency (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          CU-TEP ≥80

          TOEFL PBT ≥ 550 / IBT ≥ 79  (*ADME/ ChPE ≥ 80)

          IELTS ≥ 6.0

   –  Math Score (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          CU-AAT (Math) ≥ 600 (*ADME / AERO / ChPE ≥ 480)

          SAT (Math) ≥  620 (*ADME / AERO/ ChPE ≥ 600)

          A-Level (Math) ≥  B

          IB (Math) ≥ 6

          SAT II (Math) ≥  600

   –  Science Score (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          CU-ATS  ≥ 800

          SAT (Physics & Chemistry) ≥  600

          A-Level (Physics & Chemistry) ≥  B

          IB (Physics & Chemistry HL) ≥ 6

เรียนที่ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ค่าเล่าเรียน : 109,500 บาทต่อภาคการศึกษา
ข้อมูลเพิ่มเติม :  http://www.ise.eng.chula.ac.th/

*ติดตามประกาศและเกณฑ์คะแนนจากเว็บไซต์คณะ เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี

2. TEP-TEPE TU : คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

TEP (Twinning Engineering Program) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสองสถาบัน โดยสองปีแรก จะเรียนที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเรียนรู้ศาสตร์เบื้องต้นของวิศวกรรม และหลักสูตรทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่สภาวิศวกรไทยกำหนด หลังจากนั้นในสองปีหลังจะเป็นการเดินทางไปศึกษาต่อ ณ หนึ่งในสามมหาวิทยาลัยคู่สัญญา ได้แก่

          มหาวิทยาลัยแห่งนอตติงแฮม ประเทศสหราชอาณาจักร

          มหาวิทยาลัยแห่งนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย

          มหาวิทยาลัยเคยู เลอเฟิน ประเทศเบลเยี่ยม

TEPE หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ภาคภาษาอังกฤษ (เรียนที่ไทย 4 ปี)

ทั้ง 2 หลักสูตร เปิดสอน 5 สาขาวิชา ได้แก่

          1. วิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)

          2. วิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering)

          3. วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering)

          4. วิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering)

          5. วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering)

          ** วิศวกรรมยานยนต์ (Automotive Engineering) กำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงหลักสูตร (มีเฉพาะ TEPE เท่านั้น)

สอบอะไรบ้าง

  – English Proficiency (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          TU-GET ≥ 550

          TOEFL PBT ≥ 550 / IBT ≥ 79 

          IELTS ≥ 6.0

   –  Math Score (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          SAT II (Math) ≥  600

          PAT1 ≥ 35%

          IB (Math) ≥ 5

   –  Science Score (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          SAT (Physics) ≥  600

          SAT (Chemistry) ≥  600

          PAT2 ≥ 35%

          IB (Physics หรือ Chemistry HL) ≥ 6

เรียนที่ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (และ มหาวิทยาลัยคู่สัญญา สำหรับ TEP) 

ค่าเล่าเรียน :

หลักสูตร TEP

– 450,000 บาท (ที่ธรรมศาสตร์) + 1,670,000 บาท (สหราชอาณาจักร)

– 450,000 บาท (ที่ธรรมศาสตร์) + 2,600,000 บาท (ออสเตรเลีย)

– 450,000 บาท (ที่ธรรมศาสตร์) + 500,000 บาท (เบลเยี่ยม)

สำหรับหลักสูตร TEPE 720,000 บาท (ตลอดหลักสูตร)

ข้อมูลเพิ่มเติม :  https://tep.engr.tu.ac.th/programme/tepe

*ติดตามประกาศและเกณฑ์คะแนนจากเว็บไซต์คณะ เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี

3. SIIT TU : วิทยาลัยนานาชาติสิรินธร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เปิดสอน 9 สาขาวิชา (เลือกตอนปี 2)

          1. วิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)

          2. วิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering)

          3. วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering)

          4. วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering)

          5. วิศวกรรมอุตสาหการและระบบโลจิสติกส์ (Industrial Engineering and Logistic System)

          6. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering : CPE)

          7. วิศวกรรมดิจิทัล (Digital Engineering : DE)

          8. การจัดการวิศวกรรม (Engineering Management)

          9. เทคโนโลยีการจัดการ (Management Technology)

สอบอะไรบ้าง (เลือกรูปแบบการยื่นคะแนน รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง)

รูปแบบคะแนน  วิชา     Engineering 1-5         CPE / DE       Management

วิชาสามัญ       คณิตศาสตร์1    32       32       32

                      อังกฤษ             35       35       33

                      ฟิสิกส์               33       –         –

GAT/PAT

(Option1)        GAT2 (Eng)    รวม ≥  260

(PAT1 ≥  80)  รวม ≥  145

(PAT1 ≥  80)  รวม ≥  145

          PAT1                      

          PAT3             –         –

GAT/PAT

(Option2)        GAT2 (Eng)    รวม ≥  260

(PAT1 ≥  80)  รวม ≥  155

          รวม ≥  155

          PAT1                      

          PAT3             –         –

GAT/PAT

(Option3)        GAT2 (Eng)    –         รวม ≥  165

          รวม ≥  165

          PAT3                      

GAT / วิชาสามัญ        GAT2 (Eng)    รวม ≥  125

          รวม ≥  91

          รวม ≥  83

          คณิตศาสตร์1                       

          ฟิสิกส์            –         –

SAT    Math   620

          Verbal 400

SAT II  Math LV2       600

          Physics 600     550

(or Chem or Bio or Eng)        550

CU      CU-ATT (Math)          480     455

          CU-ATS         800     460

เรียนที่ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ค่าเล่าเรียน : 101,270 บาทต่อภาคการศึกษา
ข้อมูลเพิ่มเติม :  https://www.siit.tu.ac.th/

*ติดตามประกาศและเกณฑ์คะแนนจากเว็บไซต์คณะ เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี

4. B.Eng MUIC : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ
มหาวิทยาลัยมหิดล

เปิดสอนในสาขาวิชา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering)

สอบอะไรบ้าง

   – English Proficiency (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          TOEFL IBT ≥ 69 ( Writing ≥ 22)

          IELTS ≥ 6.0 (Writing ≥ 6.0)

          PTE ≥ 50 (Writing ≥ 50)

          DET ≥ 55

    – Math Score (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          SAT Math ≥ 600

          ACT ≥ 25

          PAT1 ≥ 110

เรียนที่ : มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
ค่าเล่าเรียน : 819,900 บาท (ตลอดทั้งหลักสูตร)
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://muic.mahidol.ac.th/

*ติดตามประกาศและเกณฑ์คะแนนจากเว็บไซต์คณะ เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี

5. B.Eng KU : คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สำหรับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะแบ่งออกเป็นสองหลักสูตร

หลักสูตรนานาชาติ เปิดสอน 3 สาขาวิชา ได้แก่

          1. วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering)

          2. วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต (Electrical-Mechanical Manufacturing Engineering)

          3. วิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้ (Software and Knowledge Engineering)

หลักสูตรภาษาอังกฤษ เปิดสอน 4 สาขาวิชา ได้แก่

          1. วิศวกรรมการบินและอวกาศและสาขาบริหารธุรกิจ หลักสูตร 2 ปริญญา (Aerospace Engineering : Double Degree)

          2. วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering)

          3. วิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering)

          4. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering)

สอบอะไรบ้าง

   – English Proficiency (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          TOEFL IBT ≥ 61

          IELTS ≥ 5.5

     – SAT (Math & Verbal) ≥ 1100 (SAT Math ≥ 600)

สำหรับวิศวกรรมการบินและอวกาศและสาขาบริหารธุรกิจ รอบพอร์ต

   – English Proficiency (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          TOEFL PBT ≥ 547 /  IBT ≥ 78

          IELTS ≥ 5.5

          RMIT English = Intermediate level

–  Math Score (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          SAT (Math) ≥  670

          SAT II (Math) ≥  670

          AP Calculus AB or BC 3

          A Levels Math or Further Math C

          AS Level Math or Further Math B

          GCSE or IGCSE Math A

          IB (Math) HL ≥ 5

   –  Physics Score (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          SAT (Physics) ≥  670

          AP Physics I or II B or C Mechanics 3

          A Levels Physics C -AS Levels Physics B

          GSCE or IGCSE Physics A

          IB (Physics HL) ≥ 5

   **หรือทดแทนด้วย SAT Math (I or II) + SAT Physics 1300

เรียนที่ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
ค่าเล่าเรียน 60,700 บาทต่อภาคการศึกษา
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.ku.ac.th/th/international-course

*ติดตามประกาศและเกณฑ์คะแนนจากเว็บไซต์คณะ เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี

6. B.Eng SWU : คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

เปิดสอน 3 สาขาวิชาได้แก่

          1. วิศวกรรมคอนเสิร์ตและมัลติมีเดีย (Concert Engineering) –  หลักสูตรนี้เกิดขึ้นจากความต้องการของภาคเอกชน เนื่องจากว่าทางตลาดอุตสาหกรรมด้านคอนเสิร์ตและมัลติมีเดียในปัจจุบัน มีการขยายตัวอย่างยิ่ง และทางอุตสาหกรรมต้องการบุคลกรที่มีความรู้ ความเข้าใจองค์รวมด้านแสง สี เสียง รวมไปถึงด้านวิศวกรรม ในคนๆ เดียว ซึ่งผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้จะสามารถตอบความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในด้านนี้ได้ อีกทั้งหลักสูตรนี้ยังมีความร่วมมือกับภาคเอกชนระดับประเทศและนานาชาติ

          2. วิศวกรรมปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ (Petroleum and Natural Gas Engineering) – สอนให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

          3. วิศวกรรมด้านความปลอดภัย และการพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ (Computer Security and Forensics Computing Engineering) – เรียนเกี่ยวกับการจัดการความปลอดภัยและการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์และคอมพิวเตอร์ทุกรูปแบบ รวมทั้งการสืบค้นหาหลักฐานในระบบอิเล็กทรอนิกส์

หลักสูตรนี้กำหนดให้มีการเรียนในประเทศไทย จำนวน 2 ปี และเรียนที่ DMU ประเทศอังกฤษในชั้นปีที่ 3 – 4 ตามความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและมหาวิทยาลัยเดอ มอนต์ฟอร์ต (De Montfort University) ประเทศอังกฤษ

สอบอะไรบ้าง

   – GPAX ≥ 2.50

   – IELTS ≥ 5.0

   – GSAT ≥ 1200

เรียนที่ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (และมหาวิทยาลัยเดอ มอนต์ฟอร์ต ประเทศสหราชอาณาจักร *สำหรับ วิศวกรรมด้านความปลอดภัยฯ)
ค่าเล่าเรียน : 80,000 บาทต่อภาคการศึกษา (* 250,000 บาทต่อภาคการศึกษา ที่สหราชอาณาจักร)
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://muic.mahidol.ac.th/

*ติดตามประกาศและเกณฑ์คะแนนจากเว็บไซต์คณะ เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี

5. SIIE KMITL : คณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

เปิดสอน 8 สาขาวิชา

          1. วิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering)

          2. วิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering)

          3. วิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)

          4. วิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการโลจิสติกส์ (Industrial Engineering and Logistic Management)

          5. วิศวกรรมนวัตกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Innovation Engineering)

          6. วิศวกรรมการเงิน (Financial Engineering)

          7. วิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ (Robotic and AI Engineering)

          8. วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering)

          9. วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering)

          10. วิศวกรรมพลังงาน (Energy Engineering)

          11. วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)

          12. การจัดการวิศวกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ (Engineering Management and Entrepreneurship)

สอบอะไรบ้าง

    –  สอบวัดระดับ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          SAT (Math & Verbal) ≥  1020 (* Computer Innovation ≥  1100)

          ACT (Composite) ≥  19 (* Computer Innovation ≥  23)

          IB ≥ 29

          * ประกาศนียบัตรอื่นๆ จาก Faculty of Engineering – KMITL (ยกเว้น Computer Innovation)

          ** ผลสอบ GAT/PAT

   – English Proficiency (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          KMITL-TEP ≥ B2

          TOEFL PBT ≥ 550 / IBT ≥ 79 

          IELTS ≥ 6.0

          IB (Eng) A1 or A2 ≥ 4

          IB (Eng) B (HL) ≥ 5

          Cambridge English Exam: FCE, CAE หรือ CPE ≥ 170

   –  Math Score (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้ (*สำหรับ Financial & Software Engi เท่านั้น)

          SAT (Math) ≥  600

          SAT II(Math) ≥  600

          ACT (Math) ≥ 23

          IB (Math) ≥ 5

          AP Test (Math) ≥ 4

          A-Level (Math) ≥ B

เรียนที่ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ค่าเล่าเรียน : 90,000 บาทต่อภาคการศึกษา (**Computer Innovation 150,000 บาทต่อภาคการศึกษา)
ข้อมูลเพิ่มเติม :  http://ieng.kmitl.ac.th/

*ติดตามประกาศและเกณฑ์คะแนนจากเว็บไซต์คณะ เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี

6. CPE KMUTT : คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

เปิดสอน 6 สาขา ได้แก่

          1. วิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering)

          2. วิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)

          3. วิศวกรรมอัตโนมัติ (Automatic Engineering)

          4. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering)

          5. วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ (Electrical Engineering)

          6. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering)

สอบอะไรบ้าง

   – English Proficiency (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          TOEFL PBT ≥ 475 (* Computer Engineering ≥ 500 / Civil Engineering ≥ 550)

          TOEIC ≥ 550  (* Computer Engineering ≥ 600)

          IELTS ≥ 4.5 (* Computer / Civil Engineering  ≥ 5.5)

          EPT ≥ 70 (* Computer Engineering ≥ 75)

          TETET ≥ 5

เรียนที่ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ค่าเล่าเรียน : 448,000 บาท (ตลอดหลักสูตร)
ข้อมูลเพิ่มเติม :  https://admission.kmutt.ac.th/bachelor

*ติดตามประกาศและเกณฑ์คะแนนจากเว็บไซต์คณะ เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี

7. CIEP KMUTN : คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

เปิดสอน 5 สาขาวิชา ได้แก่

          1. วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering)

          2. วิศวกรรมวัสดุเชิงนวัตกรรม (Innovative Materials Engineering)

          3. วิศวกรรมการบินและอวกาศ (Aerospace Engineering)

          4. วิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robotic Engineering and Automatic System)

          5. วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering)

สอบอะไรบ้าง

   – English Proficiency (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          TOEFL PBT ≥ 450 / IBT ≥ 45

          TOEIC ≥ 500 

          IELTS ≥ 4.55

          K-STEP ≥ 55

    – SAT (Math & Verbal) ≥ 1000 (Math ≥ 550)

เรียนที่ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ค่าเล่าเรียน : 80,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
ข้อมูลเพิ่มเติม :  https://www.eng.kmutnb.ac.th/ciep/?page_id=122

*ติดตามประกาศและเกณฑ์คะแนนจากเว็บไซต์คณะ เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี

8. ME / ISNE /SE CMU: คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เปิดสอน 3 สาขาวิชา

          1. วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering : ME)

          2. วิศวกรรมระบบสารสนเทศ (Information Systems and Network Engineering : ISNE)

          3. วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering : SE)

สอบอะไรบ้าง

   – English Proficiency (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          TOEFL PBT ≥ 500 / IBT ≥ 61

          TOEIC ≥ 600 

          IELTS ≥ 5.0

เรียนที่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ค่าเล่าเรียน : 50,000 บาท ต่อภาคการศึกษา (SE 40,000 บาท)
ข้อมูลเพิ่มเติม :  https://www.cmu.ac.th/th/faculty/engineering/course

*ติดตามประกาศและเกณฑ์คะแนนจากเว็บไซต์คณะ เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี

Science วิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

1. BSAC / BBTech CU : คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เปิดสอน 2 หลักสูตร ได้แก่

          BSAC – สาขาวิชา เคมีประยุกต์ (Bachelor of Science in Applied Chemistry) เน้นการศึกษาและประยุกต์ใช้ความรู้ทางเคมีซึ่งเป็น พื้นฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาด้านการแพทย์ เภสัชกรรม เกษตรกรรม และอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ อย่างเช่น polymer petroleum

          BBTech (Bachelor of Science in Biotechnology) เน้นการศึกษาเทคโนโลยีชีวภาพให้สอดคล้องกับบริบทนานาชาติในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยีชีวภาพของพืชและสัตว์ เทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์ เทคโนโลยีชีวภาพสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีชีวิภาพอาหาร ชีวสารสนเทศศาสตร์ และการจัดการเทคโนโลยีชีวภาพ

สอบอะไรบ้าง

  – English Proficiency (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          CU-TEP ≥ 80

          TOEFL PBT ≥ 550 / IBT ≥ 79

          IELTS ≥ 6.0

          SAT (Verbal) ≥ 500

          CU – AAT (Verbal) ≥ 400

   –  Math Score (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          SAT (Math) ≥  490

          SAT II (Math LV2) ≥  600

          CU – AAT (Math) ≥ 450

   –  Science Score (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้ (*เฉพาะ BSAC เท่านั้น)

          CU – ATS (Chemistry) ≥ 380

          SAT II (Chemistry) ≥  560

          AP (Chemistry) ≥  3

          IB (Chemistry) ≥  4

          A Level (Chemistry) ≥  C

          GED (Science) ≥  160

เรียนที่ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ค่าเล่าเรียน : 70,000 บาทต่อภาคการศึกษา
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.chula.ac.th/program/applied-chemistry/

*ติดตามประกาศและเกณฑ์คะแนนจากเว็บไซต์คณะ เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี

2. BSc MUIC : หลักสูตรวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ
มหาวิทยาลัยมหิดล

เปิดสอน 7 สาขาวิชาได้แก่

          1. คณิตศาสตร์ประยุกต์ (Applied Mathematics) – เป็นการศึกษาที่รวมประโยชน์ของการศึกษาทั่วไปทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และมนุษยศาสตร์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถสูงผู้ซึ่งสามารถศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา หรือเป็นบุคลากรการสอนระดับมัธยมศึกษา หรือประกอบวิชาชีพในด้านไอที การเงิน การธนาคาร สถิติ และคณิตศาสตร์ประกันภัย

          2. วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological Science) – จัดการเรียนการสอนในวิชาเอกวิทยาศาสตร์ชีวภาพเป็นหน่วยย่อยต่าง ๆ (modules) ทำให้ผู้ศึกษาสามารถเลือกทำการศึกษาวิจัยในระดับเล็ก จนไปถึงระดับใหญ่ได้ รวมทั้งสอนให้มีการนำความรู้พื้นฐานมาประยุกต์ใช้ ชีววิทยาประยุกต์จึงเป็นการนำองค์ความรู้เพื่อมาจัดการสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของระบบนิเวศ มนุษย์ สัตว์และเศรษฐกิจ มนุษย์เรามีบทบาทบนโลกใบนี้จึงมีความรับผิดชอบต่อตัวเราและต่อแม่ธรณี

          3. เคมี (Chemistry) – จะเน้นศึกษาด้านความรู้พื้นฐานสมบัติทางกายภาพทางเคมีของสารอนินทรีย์และสารอินทรีย์ ตั้งแต่ระดับอะตอมถึงระดับโมเลกุล เพื่อให้ผู้เรียนเคมีสามารถศึกษาขั้นสูงต่อไป สำหรับที่ มหิดลนี้ สาขาวิชาเคมีจัดให้มีเส้นทางปริญญาตรี+โทในลักษณะ 4+1 ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล นักศึกษาลงวิชาเรียนระดับบัณฑิตศึกษาที่ภาควิชาเภสัชวิทยาในระหว่างเรียนปริญญาตรีสาขาวิชาเคมีที่วิทยาลัยนานาชาติ ทำให้จบการศึกษาในระดับปริญญาโท M.Sc. (Pharmacology) ได้เร็วขึ้น โดยสามารถเลือกวิชาเอกสำหรับปริญญาโทได้ คือ Medical Pharmacology หรือ Systems Pharmacology เมื่อจบการศึกษาในเส้นทางนี้สามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องในวงการพัฒนายาใหม่ เป็นทั้งอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ทั้งในภาครัฐและเอกชน

          4. วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) – เป็นการศึกษาการผสานข้อมูลต่างๆ เข้ากับการคำนวณที่ซับซ้อน เพื่อความทันสมัยให้สอดคล้องกับโลกในยุคปัจจุบัน โดยมีวิชาให้เรียนย่อยลงไปอีก ได้แก่ AI และศาสตร์การวิเคราะห์ข้อมูล , การสร้างซอฟต์แวร์ , วิศวกรแพลตฟอร์มข้อมูล และ วิทยาการคอมพิวเตอร์สายวิจัย หรือจะผสมผสานสาขาเหล่านี้ตามความชอบของตนเองโดยมีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาและดูแล จึงทำให้หลักสูตรของเราเหมาะสมกับทั้งผู้ที่ต้องการงานที่ให้ผลตอบแทนดีทันทีหลังจบการศึกษา ไปจนกระทั่งผู้ที่ต้องการไปเรียนต่อ

          5. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร (Food Science and Technology) – เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายเพื่อการผลิตอาหาร นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์การอาหารและเทคโนโลยีจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเคมีจุลชีววิทยา โครงสร้างวิศวกรรมความปลอดภัย และโภชนาการของอาหารเนื่องจากมีการประมวลผล บรรจุ กระจาย จัดเก็บ และใช้งาน เราจัดทำโปรแกรมพิเศษนี้เพื่อค้นหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับแง่มุมต่าง ๆ ของอาหารเริ่มจากวิธีการแปรรูปอาหารจนถึงการบริโภค

          6. วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Environmental Science) – เรียนรู้วิธีการปฏิบัติตามแนวทางสหวิทยาการ (ความรู้ที่รวมเอาหลายสาขาวิชามาประกอบกัน) อย่างเคร่งครัดเพื่อวัด หาจำนวน พยากรณ์และแก้ไขปัญหาภัยคุกคามทางสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรงโดย

          7. ฟิสิกส์ (Physics) ศึกษาหัวข้อทางด้านฟิสิกพื้นฐานตั้งแต่ กลศาสตร์ ไฟฟ้าแม่เหล็ก อุณหพลศาสตร์ และกลศาสตร์ควอนตัม รวมไปถึงทักษะในการทำงานในห้องปฏิบัติการ อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ สาขาวิชาฟิสิกส์มีวิชาเลือกที่ส่งเสริมผู้เรียนที่มีความสนใจมุ่งเน้นทาง Astrophysics และ Computational Physics ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาต่อในระดับสูงด้านต่างๆได้ดียิ่งขึ้น

สอบอะไรบ้าง

   – English Proficiency (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          TOEFL IBT ≥ 69 ( Writing ≥ 22)

          IELTS ≥ 6.0 (Writing ≥ 6.0)

          PTE ≥ 50 (Writing ≥ 50)

          DET ≥ 55

    – Math Score (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          SAT Math ≥ 600

          ACT ≥ 25

เรียนที่ : มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
ค่าเล่าเรียน : 805,800 – 869,700 บาท (ตลอดทั้งหลักสูตร)
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://muic.mahidol.ac.th/

*ติดตามประกาศและเกณฑ์คะแนนจากเว็บไซต์คณะ เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี

3. BS KU : คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เปิดสอน 3 สาขาวิชาได้แก่

          1. เคมีบูรณาการ (Integrated Chemistry) -เน้นการสอนนิสิตให้มีความเข้าใจอย่างทั่วถึงเกี่ยวกับเคมีพื้นฐาน รวมไปถึงกระบวนการทางอุตสาหกรรมเคมีที่จำเป็น นอกจากนี้ ยังหล่อหลอมให้มีความเข้าใจถึงวิทยาการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอีกหลากหลายแง่มุม อาทิ วิทยาการด้านพลังงานหมุนเวียน การเร่งปฏิกิริยา ยางธรรมชาติ สิ่งทอ และอัญมณี เป็นต้น

          2. วิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยี (Bioscience and Technology) – เนื่องจากโลกมีความต้องการวิทยาการเกี่ยวกับยารักษาโลกที่เพิ่มมากขึ้น ต้องการความปลอดภัยมากขึ้น และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น  วิชาที่น่าสนใจสำหรับนิสิตที่เลือกเรียนสาขานี้ ก็ได้แก่ วิชา เคมีอินทรีย์ วิชาเคมีเชิงชีวภาพ วิชาเรื่องเฉพาะทางเคมีบูรณาการ

          3. วิทยาการและเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (Polymer Science & Technology) -เป็นหลักสูตรที่บูรณาการองค์ความรู้ทางด้านพอลิเมอร์ ยาง พลาสติก และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ หลักสูตรนี้ได้ทำความร่วมมือกับ University of Akron, USA ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มี่ชื่อเสียงเป็นอย่างมากในด้าน Polymer ของประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถเลือกได้ว่า ปีที่ 4 นิสิตจะเรียนที่ ม.เกษตรฯ หรือจะไปเรียนปี 4 ที่ Akron (สำหรับนิสิตที่ไปเรียนปี 4 ที่ Akron สามารถเทียบโอนหน่วยกิตมาที่ ม.เกษตรฯ เพื่อรับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ) นอกจากนี้ นิสิตที่ไปเรียนที่ Akron สามารถเรียนต่ออีก 1 ปี ที่ University of Akron, USA เพื่อรับวุฒิปริญญาโทด้าน Polymer Science หรือ Polymer Engineering ของ University of Akron, USA ได้ เรียน 5 ปี ได้ทั้งปริญญาตรีและโท

 สอบอะไรบ้าง

   – English Proficiency (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          TOEFL IBT ≥ 61

          IELTS ≥ 5.5

   – Math Score (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          SAT (Math) ≥ 550

          SAT II (Math LV2)  ≥ 550     

   – มีคะแนนสอบ SAT Chemistry

เรียนที่ : มหาวิทยาลัยเกษตร วิทยาเขตบางเขน
ค่าเล่าเรียน : 55,000 บาทต่อภาคการศึกษา
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.ku.ac.th/th/international-course

*ติดตามประกาศและเกณฑ์คะแนนจากเว็บไซต์คณะ เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี

4. ISP KMITL : คณะวิทยาศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

เปิดสอนในสาขาวิชา เคมีวิศวกรรมและอุตสาหการ (Industrial and Engineering Chemistry: IEC)

          เป็นหลักสูตรที่ผสานความรู้ทางด้านเคมี เพื่อไปตอบโจทย์งานด้านวิศวกรรม โดยจะมีความแตกต่างกับวิทยาศาสตร์สาขาเคมี ที่เน้นเนื้อหาเคมีที่เข้มข้น แต่หลักสูตร IEC จะเน้นสอนให้ผู้เรียนนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปปรับใช้ในทางปฏิบัติของภาคอุตสาหกรรม โดยหลักสูตรนี้สามารถปรับรูปแบบการเรียนได้ ตามความสนใจของผู้เรียน ได้ดังนี้

          Track 1-  2 ปริญญา ( B.Sc KMITL + B.Sc University of Strathclyde : สก็อตแลนด์)

          Track 2-  1 ปริญญา + 1 ประกาศนียบัตร( B.Sc KMITL + Cirtificate University of Strathclyde : สก็อตแลนด์)

          Track 3-  1 ปริญญา ( B.Sc KMITL) + ฝึกงานกับมหาวิทยาลัยคู่สัญญาทั่วโลก

 สอบอะไรบ้าง

– English Proficiency (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          KMITL-TEP ≥ B1

          TOEFL PBT ≥ 473 / IBT ≥ 54

          IELTS ≥ 4.0

          TOEIC ≥ 600

          CU-TEP ≥ 60

   –  Academic Score (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          SAT (Math & Verbal) ≥  1020

          ACT (composite) ≥ 19

          IB ≥ 28

          (ผลสอบอื่นๆ A-Level / Gaokao / GAT-PAT นำมาเทียบได้)

เรียนที่ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง (และ UoS สก๊อตแลนด์)
ค่าเล่าเรียน : 90,000 บาทต่อภาคการศึกษา (*ไม่รวมค่าใช้จ่ายกรณีไปศึกษาที่ UoS หรือฝึกงาน)
ข้อมูลเพิ่มเติม :  https://inter.science.kmitl.ac.th/

*ติดตามประกาศและเกณฑ์คะแนนจากเว็บไซต์คณะ เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี

5. IAAI KMILT : วิทยาลัยการบินนานาชาติ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

เปิดสอน 2 หลักสูตร ได้แก่

          1. วิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ (Aeronautical Engineering and Commercial Pilot) เป็นหลักสูตรที่จะสอนตั้งแต่วิทยาศาสตร์กีฬาเพื่อดูแลสุขภาพให้แข็งแรง / วิศวเครื่องกลเกี่ยวกับเครื่องบิน / วิศวกรรมอากาศยาน และการขับเครื่องบินจริง

          2. การจัดการโลจิสติกส์ (Logistic Management) เป็นหลักสูตรที่ผสานกันระหว่าง วิศวกรรมศาตร์ การบริหารและการจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศ โลจิสติกส์และการบิน ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ลึกรู้จริง ที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์

สอบอะไรบ้าง

– English Proficiency (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          KMITL-TEP ≥ B1

          TOEFL PBT IBT ≥ 24

          IELTS ≥ 3.0

          TU-GET ≥ 600

      –  Math Score (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

          SAT II(Math) ≥  600

          ACT (Math) ≥ 24

          IB (Math) ≥ 5

          AP Test (Math) ≥ 3

          A-Level (Math) ≥ C

เรียนที่ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ค่าเล่าเรียน : 90,000 บาทต่อภาคการศึกษา (สำหรับสาขาวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ จ่ายตรงกับการบินเอเชีย เพิ่มอีก 350,000 บาทต่อภาคการศึกษา
ข้อมูลเพิ่มเติม :  https://iaai.kmitl.ac.th/

*ติดตามประกาศและเกณฑ์คะแนนจากเว็บไซต์คณะ เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี

upload success
upload fail
File
uploading