รวมข้อมูล คณะเภสัชศาสตร์ ครบสุด!!

คำถามเจอบ่อยเด็กอยากติดคณะเภสัชศาสตร์

ถาม : เภสัชเรียนยากไหม?

ตอบ : เนื้อหาสำหรับการเรียนจะค่อนข้างเยอะ ถ้าตั้งใจเรียนอ่านหนังสือก่อนสอบก็ไม่ยากเกินไป

_________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : เภสัชต้องเรียนอะไรบ้าง?

ตอบ : เรียนเภสัชก็จะมีวิชาที่เกี่ยวกับยาว่ายาตัวนี้ออกฤทธิ์กับร่างกายยังไง ต้องกินขนาดเท่าไหร่ผลข้างเคียงเป็นยังไงบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ทั้งหมด

________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : อยากเรียนเภสัชในอนาคตอาชีพนี้ยังจะเป็นที่นิยมอยู่ไหม จะได้งานเลยไหมหรือต้องวิ่งหางาน?

ตอบ : เภสัชเป็นอาชีพที่ไม่ตกงานจะรุ่งเรืองไหมขึ้นอยู่ที่เราว่าจะเลือกทำงานที่ไหน ไม่ว่าจะตามโรงพยาบาล โรงงาน หรือจะเป็นธุรกิจส่วนตัว

________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : คณะเภสัชศาสตร์น่าเรียนไหม?

ตอบ : คณะนี้เป็นคณะที่น่าสนใจ ข้อดีของคณะนี้เป็นคณะที่หางานง่ายเป็นคณะที่ขาดแคลน น้อง ๆ ที่ จะเรียนจบจากคณะนี้ไม่ต้องกังวลเรื่องหางานทำเลย อีกอย่างสิทธิพิเศษของคณะนี้สามารถเปิดร้านขายยาเป็นของตัวเองได้

________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : เรียนเภสัชเรียนเหมือนคณะแพทย์ไหม?

ตอบ :  สำหรับการเรียนในคณะเภสัชศาสตร์นั้น จะเรียนกันคนละแบบกับคณะแพทย์ศาสตร์ แต่ก็จะมีเรียนคล้ายกันบ้างในบางรายวิชา  เช่น วิชาที่เกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์ เพื่อให้เข้าใจและเรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ เภสัชเรียนเหมือนคณะแพทย์อย่างหนึ่ง คือ มีวิชาเรียนชีวะค่อนข้างเยอะ และเราต้องมีวินัยในการอ่านหนังสือ

________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : เรียนคณะเภสัชศาสตร์ต้องฝึกงานไหม?

ตอบ : หลังจากที่เราเรียนผ่านไป 5 ปี แล้วปีที่ 6 น้อง ๆ ก็จะได้ฝึกงานจะเป็นการฝึกงานล้วน ๆ เลย สำหรับที่ฝึกงานก็จะแตกต่างกันขึ้นอยู่ที่แต่ละมหาลัยการฝึกงานจะมีทั้งหมด 4 พลัด คือ ปฏิบัติงานการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก 1, ปฏิบัติงานการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยใน 1, ปฏิบัติงานการจัดการด้านยาในโรงพยาบาล และฝึก 1 วิชา จะมีวิชาปฏิบัติงาน เภสัชกรรมชุมชน และปฏิบัติงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ

________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : เรียนเภสัชเน้นวิชาอะไร?

ตอบ  : จะเน้นในด้านการผลิตยา การค้นคว้าหาตัวยา และการควบคุมคุณภาพมาตรฐานของยาแต่ละชนิด รวมถึงการวิจัยยาและคิดค้นสูตรยาใหม่ ๆ อีกด้วย โดยส่วนมากแล้วสาขาวิชาเภสัชศาสตร์จะอยู่ในสายงานด้านการผลิต จะทำงานประจำที่โรงงานอุตสาหกรรมการผลิตยา

________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : เภสัชฯ สาย Care คืออะไร

ตอบ : เภสัชฯ สาย Care จะเป็นกลุ่มวิชาบริบาลทางเภสัชกรรม ก็จะเป็นสายการศึกษาเชิงคลีนิกหรือ การศึกษาที่เกี่ยวกับผู้ป่วย บุคคล เช่น พิษวิทยา ชีวเภสัชศาสตร์ เภสัชบำบัดโรคของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย การบริการและการบริบาลทางเภสัชกรรมในโรงพยาบาล และ ร้านยาการปฏิบัติหน้าที่ทางสาธารณสุข

________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : เภสัชฯ สาย Sci คืออะไร

ตอบ :  ในส่วนของสาย Sci จะเรียนเน้นไปทางด้านวิชาที่เกี่ยวกับการนำไปใช้กับโรงงาน เช่น การควบคุมคุณภาพ ซึ่งจะไม่เกี่ยวกับงานด้านโรงพยาบาล ซึ่งสาย Sci ก็จะมีหลากหลายสายให้เลือกลงไปอีก เช่น การพัฒนาสูตรยา การผลิตยา การตรวจสอบยา

________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : เรียนเภสัชฯ สาย Care กับ สาย Sci ต่างกันยังไง

ตอบ : ทั้งสองสายจะต่างกันอยู่แล้วทั้งด้านวิชาและการฝึกงาน สาย Sci จะเป็นวิชาที่เน้นไปทางโรงงานมากกว่าไม่ค่อยได้ยุ่งกับโรงพยาบาลเลยจะเกี่ยวกับการผลิต การควบคุมคุณภาพทางด้านโรงงานที่ต้องใช้รวมไปถึงการวางแผนโรงงาน ส่วนทางสาย Care จะเน้นไปทางโรงพยาบาล การดูแลผู้ป่วยแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

________________________________________________________________________________________________________________________

สาขาของคณะเภสัชศาสตร์มีอะไรบ้าง ?

สำหรับคณะเภสัชศาสตร์มีสาขาเฉพาะทางซึ่งจะมีสาขาต่างๆ ดังนี้

1. สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิกและเภสัชกรรมโรงพยาบาล

            สาขาเภสัชกรรมคลินิก เป็นการศึกษาเกี่ยวกับโรคต่าง ๆ และการรักษา ตั้งแต่พยาธิกำเนิด พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การดำเนินของโรค ระบาดวิทยา ปัจจัยก่อโรค ปัจจัยส่งเสริม การวินิจฉัยและการรักษา ทั้งแบบใช้ยาและไม่ใช้ยา เภสัชกรคลินิกจะดูแลการใช้ยาในผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การออกแบบการบริหารยา การประเมินการใช้ยา การค้นหาปัญหาที่เกี่ยวกับยา การติดตามอาการไม่พึงประสงค์

2. สาขาวิชาเภสัชกรรมชุมชม

            เภสัชกรรมชุมชน ก็คือ ร้านยาเภสัชกรชุมชน นอกจากจำหน่ายยาแล้ว ต้องทำการซักประวัติ การวินิจฉัยโรคเบื้องต้น การเลือกใช้ยาและขนาดที่เหมาะสม แนะนำวิธีการใช้ยา นอกจากนี้ ยังมีการให้คำปรึกษาเรื่องยาและสุขภาพ

3. สาขาวิชาเภสัชสาธารณสุข

            เภสัชสาธารณสุข คือการประยุกต์ความรู้ทางสาธารณสุขศาสตร์มาใช้ในงานทางเภสัชกรรม ตัวอย่างเช่น ระบบยา นโยบายแห่งชาติด้านยา พฤติกรรมสุขภาพ งานสาธารณสุขชุมชน การบูรณาการองค์ความรู้ทางสังคมวิทยา มานุษยวิทยา ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ มาใช้ในงานเภสัชสาธารณสุข เช่น พฤติกรรมการใช้ยาของกลุ่มประชากรที่มีความแตกต่างเรื่องเพศ อายุ การใช้ยาในทางที่ผิดของวัยรุ่น รวมทั้งการใช้ความรู้ทางเภสัชระบาดวิทยาและเภสัชเศรษฐศาสตร์มาช่วยในการศึกษาและจัดการปัญหาทางสาธารณสุขที่เกี่ยวกับยาและการใช้ยาของประชาชน

4. สาขาวิชาเภสัชเคมี

            สาขาเภสัชเคมี ก็คือ เคมีของยา ยา คือ สารเคมี ส่วนใหญ่เป็นสารอินทรีย์ จึงมีโครงสร้างเป็นวงเป็นเหลี่ยมเป็นกิ่งก้านสาขา บางชนิดมีโครงสร้างง่าย ๆ แต่บางชนิดก็มีโครงสร้างซับซ้อน อย่างที่น้องหลายคนคงเคยเห็น การตัดหมู่ฟังก์ชันบางตำแหน่งออก การเพิ่มหรือเปลี่ยนหมู่ฟังก์ชัน จะมีผลต่อเภสัชพลศาสตร์และเภสัชจลนศาสตร์ของยา รวมทั้งคุณสมบัติทางเคมีกายภาพของยาด้วย ซึ่งจะมีผลต่อการตั้งสูตรตำรับ โดยเราสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้เหล่านี้ในการวิจัยและการพัฒนายาโดยการปรับปรุงโครงสร้างของยา และการออกแบบยาเพื่อให้มีโครงสร้างที่เหมาะสมต่อการออกฤทธิ์ที่จำเพาะมากขึ้น

5. สาขาวิชาเภสัชเวท

            สาขาเภสัชเวท เป็นการศึกษาตัวยาและสารช่วยทางเภสัชกรรมจากแหล่งธรรมชาติ ทั้งพืช จุลินทรีย์ และแร่ธาตุ เช่น น้ำผึ้ง นมผึ้ง เกสรผึ้ง น้ำมันตับปลา หมู วัว แหล่งจุลินทรีย์ รวมทั้งพวกสาหร่าย เห็ด รา เปลือกสนสกัด สารสกัดเมล็ดองุ่น สารสกัดจากปลาทะเลน้ำลึก รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการผลิตตัวยาด้วย

6. สาขาวิชาเภสัชวิเคราะห์

             เภสัชวิเคราะห์ ก็คือ วิชาการวิเคราะห์ยา เป็นการหาปริมาณยาและสารปนเปื้อน โดยใช้วิธีการทางเคมีต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์เชิงน้ำหนัก การวิเคราะห์เชิงปริมาตรหรือการไทเทรต การวิเคราะห์เชิงไฟฟ้า การวิเคราะห์เชิงแสง เป็นต้น จะทำงานในฝ่ายควบคุมคุณภาพในโรงงานยา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

7. สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม

             เทคโนโลยีเภสัชกรรม คือวิชาการผลิตยา ยามีหลายรูปแบบมาก เช่น ยารูปแบบของแข็ง (ยาเม็ด ยาแคปซูล ยาผง ยาแกรนูล ยาเหน็บ) ยารูปแบบของเหลว (อโรมาติกวอเตอร์ สปิริต อิลิกเซอร์ ยาน้ำเชื่อม ยาน้ำอิมัลชัน ยาน้ำแขวนตะกอน) ยารูปแบบกึ่งแข็ง (ยาขี้ผึ้ง ครีม เพสต์ เจล) ยารูปแบบไร้เชื้อ (ยาฉีด ยาฝัง ยาตา ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เช่น ฮอร์โมน วัคซีน เซรุ่ม สารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือด) ยารูปแบบพิเศษ (ยากัมมันตรังสี ยาแอโรโซล ยาแผ่นแปะ ระบบการนำส่งยาแบบต่าง ๆ) ซึ่งในการผลิตยา ต้องใช้ความรู้หลายสาขา ทั้งชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ และเครื่องจักรกล มาใช้ในกระบวนการออกแบบยา การประดิษฐ์ยา การพัฒนานวัตกรรมทางยา และกระบวนการผลิตยา

8. สาขาวิชาการบริหารเภสัชกิจ

            สาขาการบริหารเภสัชกิจ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการบริหาร การจัดการ พฤติกรรมองค์กร การตลาด และการประยุกต์มาใช้ในงานทางเภสัชกรรม ทั้งโรงพยาบาล ร้านยา บริษัทยา โรงงานยา ศูนย์วิจัย ห้องปฏิบัติการ หรือหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง

9. สาขาวิชานิติเภสัชศาสตร์  

            นิติเภสัชศาสตร์ เป็นการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานทางเภสัชกรรมและเภสัชกรทุกสาขา เช่น กฎหมายวิชาชีพเภสัชกรรม กฎหมายยา กฎหมายวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท กฎหมายยาเสพติด กฎหมายเครื่องสำอาง เป็นต้น และในกระบวนวิชานี้ จะพูดถึงจรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรม ซึ่งเป็นการศึกษาจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมทุกสาขา

10. เภสัชวิทยา

            สาขาเภสัชวิทยา เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างยากับร่างกายทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์และเชิงคลินิก โดยมีการศึกษาใน 2 ลักษณะ คือ เภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์ เภสัชจลนศาสตร์เป็นการศึกษาว่าร่างกายทำอะไรกับยา ได้แก่ การดูดซึมยา การกระจายยา การแปรสภาพยา และการขับยา ส่วนเภสัชพลศาสตร์ เป็นการศึกษาว่ายาทำอะไรกับร่างกาย

11. พิษวิทยา  

            สาขาพิษวิทยา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสารพิษชนิดต่าง ๆ ทั้งสารพิษในธรรมชาติและสารเคมีสังเคราะห์ ยาในขนาดที่เป็นพิษ ลักษณะความเป็นพิษต่อร่างกายในระบบต่าง ๆ กลไกการเกิดพิษ อาการพิษและการรักษา รวมทั้งศึกษาการใช้ ทดลองในการทดลองทางพิษวิทยาด้วย

12. ชีวเภสัชศาสตร์

            ชีวเภสัชศาสตร์จะเป็นการศึกษาประสิทธิภาพของการใช้ยากับร่างกาย ศึกษาผ่านทางชีวประสิทธิผลและชีวสมมูล ชีวประสิทธิผล คือ การศึกษาการดูดซึมของตัวยาเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิตเทียบกับปริมาณยาที่ให้ไป ส่วนชีวสมมูล คือการศึกษาเปรียบเทียบการละลายออกของตัวยาจากผลิตภัณฑ์ยาตัวอย่างเทียบกับผลิตภัณฑ์ยาต้นแบบ ซึ่งตัวยาเดียวกันก็อาจมีการละลายตัวยาออกจากผลิตภัณฑ์ในอัตราต่างกัน

คณะเภสัชศาสตร์ต้องเรียนอะไรบ้างในแต่ละปี ?

ปี 1

เรียนปรับพื้นฐาน

            ปีแรกปีที่ 1 ในคณะเภสัช ในเทอมแรกจะเรียนเกี่ยวกับวิชาพื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้  เช่น ภาษาอังกฤษ, แคลคูลัส, เคมี, ชีววิทยาระดับเซลล์, ฟิสิกส์เบื้องต้น บางวิชาอาจจะได้เรียนรวมกับคณะอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ความรู้จากวิชานั้น เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และตอนปี 1 เราจะได้เรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเภสัชโดยตรง 1 รายวิชา เป็นวิชาบทนำเภสัชศาสตร์ ซึ่งจะเรียนความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิชาชีพเภสัชกร เช่น ความเป็นมาของวิชาชีพนี้ การคำนวณขนาดยา การเขียนคำสั่งใช้ยาโดยใช้ตัวย่อต่าง ๆ  รูปแบบเภสัชภัณฑ์หรือรูปแบบยาเตรียม

ปี 2

การเรียนยากขึ้นอีกระดับ

            ปี 2 จะเริ่มเข้ามาเรียนวิชาในคณะเพิ่มมากขึ้น วิชาที่มีเรียน เช่น  เคมีอินทรีย์เบื้องต้น เคมีเชิงฟิสิกส์ ชีวเภสัชศาสตร์ สถิติทางเภสัชศาสตร์ จุลชีววิทยาเบื้องต้น เภสัชเวท รวมถึงมีการเรียนวิชาฝึกปฏิบัติงานเภสัชกรรมคลินิกสำหรับนิสิตที่เลือกเรียนสาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม ก็จะมีบางวิชาที่ต้องใช้แล บ ก็จะใช้แล็บประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง หรือบางครั้ง 5 ชั่วโมงจะได้เรียนภาษาอังกฤษทางวิชาการ 2 – English for Academic Purposes II ภาคต่อของ ภาษาอังกฤษทางวิชาการ 1 (English for Academic Purposes I) ที่เราเรียนกันไปเมื่อตอนปี 1 เนื้อหาก็จะยกระดับความ Advance ขึ้นมาอีกระดับและจุลชีววิทยาสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์

ปี 3

เริ่มเข้าสู่การเป็นเภสัชมากขึ้น

            สำหรับปีนี้เราจะเจาะลึกการลงแล็บมากขึ้นและยากกว่าปีที่ผ่านมา ได้เรียนรู้เครื่องมือเกี่ยวกับอาชีพนี้มากขึ้นเป็นการปูพื้นฐานไปยังปี 3 นั้นเอง จะได้เรียนวิชาเกี่ยวกับพยาธิวิทยาสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ และวิชาคณะแพทย์ตัวเกือบสุดท้ายการศึกษาวิชาเฉพาะทางเภสัชศาสตร์ ในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน ชีวเภสัชศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา สาธารณสุข หลักในการเกิดโรค และจุลชีววิทยา และศึกษาวิชาทางด้านวิชาชีพ ทฤษฎี ปฏิบัติการ และจะได้ฝึกงานด้วย

ปี 4

เจาะลึกสายเภสัชสัชมากขึ้น

            ในปี 4 นี้จะเจาะลึกทางด้านสายเภสัชโดยตรง ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ในส่วนทฤษฎีเนื้อหาจะมีความเข้มข้นขึ้นมาก ๆ เจาะเฉพาะทางสายเภสัชจะเน้นเรียนเคมีมากจะต้องรู้ทุกอย่างในปีนี้ยังคงเรียนแล็บอยู่และจะเรียนแล็บเฉพาะทางมาก ๆ จะเป็นการฝึกก่อนที่จะไปฝึกงานจริงในปี 5

ปี 5

ปีแห่งการฝึกงาน

            ปีที่ 5 เราจะได้ฝึกงานแต่ยังมีเรียนทฤษฎีอยู่บ้างในการฝึกงานเราจะได้เจอเคสต่าง ๆ ที่เป็นเคสจริงเราจะได้คุยกับผู้ป่วยจริงหรือญาติผู้ป่วยนั้นเอง รวมไปถึงการทำแล็บยังคงต้องเรียนอยู่ แต่การทำแล็บในปีนี้เป็นการทำแล็บที่จริงจังมาก ปีนี้เป็นอีกปีที่ต้องเก็บสะสมประสมการณ์อย่างมากเพื่อเอาไว้ใช้สำหรับปีต่อไปและสำหรับปีนี้จะมีการทำ Project อีกด้วย

ปี 6

ปีแห่งการฝึกงานที่เข้มข้นมากขึ้น

            ปี 6 เป็นปีแห่งการฝึกงานอีกปีหนึ่ง โดยเป็นการนำความรู้ทั้งหมดตั้งแต่ปี 1-5 มาใช้ และต้องเก็บประสบการณ์จากการทำงานจริงให้ได้มากที่สุด


ทดลองเรียนฟรี >> คลิก


สอบถามรายละเอียด >> คลิก

อยากติด คณะเภสัชศาสตร์
ต้องสอบวิชาอะไร

  1. TPAT1 ความถนัดแพทย์ – เชาวน์ปัญญา
  2. TPAT1 ความถนัดแพทย์ – จริยธรรม
  3. TPAT1 ความถนัดแพทย์ – เชื่อมโยง
  4. A-Level ฟิสิกส์
  5. A-Level เคมี
  6. A-Level ชีววิทยา
  7. A-Level สังคมศึกษา
  8. A-Level ไทย
  9. A-Level อังกฤษ
  10. A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์

ควรได้คะแนนขั้นต่ำเท่าไหร่

เภสัชศาสตร์RANK A      คะแนนแนะนำ     62.2

เภสัชจุฬาฯ (บริบาลเภสัช)

เภสัชจุฬาฯ (เภสัชอุตสาหการ)

เภสัชมหิดล

TPAT1 ความถนัดแพทย์ – เชาวน์ปัญญา (30%) คะแนนแนะนำ 65
TPAT1 ความถนัดแพทย์ – จริยธรรม คะแนนแนะนำ 65
TPAT1 ความถนัดแพทย์ – เชื่อมโยง คะแนนแนะนำ 65
A-Level ฟิสิกส์(28% คะแนนแนะนำ )60
A-Level เคมี คะแนนแนะนำ 60
A-Level ชีววิทยา คะแนนแนะนำ 60
A-Level สังคมศึกษา (7%) คะแนนแนะนำ 65
A-Level ไทย (7%) คะแนนแนะนำ 65
A-Level อังกฤษ (14%) คะแนนแนะนำ 60
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (14%) คะแนนแนะนำ 60

เภสัชศาสตร์RANK B       คะแนนแนะนำ     59.4

เภสัชธรรมศาสตร์

เภสัชศรีนครินทรวิโรฒ (บริบาลเภสัช)

เภสัชศรีนครินทรวิโรฒ (เภสัชอุตสาหการ)

TPAT1 ความถนัดแพทย์ – เชาวน์ปัญญา (30%) คะแนนแนะนำ 65
TPAT1 ความถนัดแพทย์ – จริยธรรม คะแนนแนะนำ 65
TPAT1 ความถนัดแพทย์ – เชื่อมโยง คะแนนแนะนำ 65
A-Level ฟิสิกส์(28% คะแนนแนะนำ )60
A-Level เคมี คะแนนแนะนำ 60
A-Level ชีววิทยา คะแนนแนะนำ 60
A-Level สังคมศึกษา (7%) คะแนนแนะนำ 65
A-Level ไทย (7%) คะแนนแนะนำ 65
A-Level อังกฤษ (14%) คะแนนแนะนำ 60
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (14%) คะแนนแนะนำ 60

เภสัชศาสตร์RANK C         คะแนนแนะนำ     57.2

เภสัชเชียงใหม่

เภสัชนเรศวร

เภสัชอุบลราชธานี

เภสัชมหาสารคาม

เภสัชสงขลานครินทร์

TPAT1 ความถนัดแพทย์ – เชาวน์ปัญญา (30%) คะแนนแนะนำ 65
TPAT1 ความถนัดแพทย์ – จริยธรรม คะแนนแนะนำ 65
TPAT1 ความถนัดแพทย์ – เชื่อมโยง คะแนนแนะนำ 65
A-Level ฟิสิกส์(28% คะแนนแนะนำ )60
A-Level เคมี คะแนนแนะนำ 60
A-Level ชีววิทยา คะแนนแนะนำ 60
A-Level สังคมศึกษา (7%) คะแนนแนะนำ 65
A-Level ไทย (7%) คะแนนแนะนำ 65
A-Level อังกฤษ (14%) คะแนนแนะนำ 60
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (14%) คะแนนแนะนำ 60

upload success
upload fail
File
uploading