รวมข้อมูล คณะวิทยาศาสตร์ ครบสุด!!

คำถามเจอบ่อยเด็กอยากติดคณะวิทยาศาสตร์

ถาม : คณะวิทยาศาสตร์เรียนยากไหม?

ตอบ : ไม่ยากแต่ก็ไม่ง่ายไปซะทีเดียว ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้ อ่านหนังสือฝึกฝนตัวเองเยอะ ๆ

_____________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : เรียนคณะวิทยาศาสตร์ดียังไง?

ตอบ : ข้อดีหลัก ๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ คือ มีสาขาให้เลือกหลากหลายมาก ๆ ซึ่งมันดีมาก ๆ กับการเรียนเฉพาะเจาะจง สำหรับใครที่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร สนใจด้านไหนเป็นพิเศษและอยากทำงานเกี่ยวกับอะไร ซึ่งแต่ละสาขาของวิทยาศาสตร์ที่มีความหางานง่ายและยากต่างกันไป ดังนั้นจะบอกว่าคณะนี้ตกงานไม่ใช่จะว่าหางานง่ายก็ไม่เชิง

_____________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : คณะวิทยาศาสตร์เรียนอะไร?

ตอบ : เรียนเกี่ยวกับเทคนิคในการสังเกตการตั้งสมมติฐาน และ การทดลองโดยใช้หลักปรัชญาและตรรกวิทยาพยายามสังเกตและวัดปริมาณเป็นตัวเลขออกมาเพื่อความแม่นยำบวกกับอาศัยหลักทางคณิตศาสตร์

_____________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : เรียนต่อคณะวิทยาศาสตร์ต้องจบมัธยมปลายสายอะไร

ตอบ : เรียนต่อมัธยมปลายสายวิทย์-คณิต เพราะพื้นฐานจากมัธยมปลายสายวิทย์จะถูกนำมาใช้มากที่สุด

_____________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : เรียนคณะวิทยาศาสตร์จบมาทำงานอะไร?

ตอบ : เรียนคณะวิทยาศาสตร์ จบมาสามารถทำงานได้หลากหลาย เช่น เป็นอาจารย์สอนวิชาวิทยาศาสตร์เป็นนักวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์ ในสถาบันการศึกษาหรือกระทรวงต่าง ๆ ประกอบอาชีพในธุรกิจเอกชน รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรมจะทำหน้าที่เป็นนักเคมี นักวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์ นักวิเคราะห์ระบบ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

_____________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : คณะวิทยาศาสตร์เรียนกี่ปี ?

ตอบ : สำหรับคณะวิทยาศาสตร์จะเรียน 4 ปี ส่วนใหญ่จะมีสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ สาขาวิชาเคมี เหมาะกับน้อง ๆ ที่ชอบวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีเป็นทุนเดิม ชอบค้นคว้าหาสิ่งใหม่ ๆ ช่างตั้งคำถามและหาคำตอบ และไม่หยุดพัฒนาตัวเอง

_______________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : อยากเข้าคณะวิทยาศาสตร์ควรเน้นวิชาอะไร?

ตอบ : คณะนี้จะเน้นวิชาหลักๆเลย คือ ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ น้องๆที่อยากเรียนคณะนี้ขยันอ่านหนังสือเพื่อเตรีมตัวให้พร้อมนะ

_____________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : คนที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ต้องเรียนคณะวิทยาศาสตร์อย่างเดียวใช่ไหม?

ตอบ : ไม่จำเป็นว่าต้องเรียนคณะวิทยาศาสตร์เท่านั้นนักวิทยาศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องมาจากคณะวิทยาศาสตร์เสมอไป หลายคนก็มาจากวิศวะ เภสัช เกษตร หรือ เทคนิคการแพทย์

_____________________________________________________________________________________________________________________

สาขาของคณะวิทยาศาสตร์มีสาขาไหนบ้าง ?

            สำหรับคณะวิทยาศาสตร์ มีสาขาเฉพาะทางซึ่งจะมีสาขาต่าง ๆ ดังนี้

1. สาขาวิชาคณิตศาสตร์ 

            สาขานี้จะศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์บริสุทธิ์และคณิตศาสตร์ประยุกต์ เน้นทั้งในด้านทฤษฎีและการนำไปใช้ และเน้นหนักที่การศึกษาเพื่อให้รู้คุณค่าของคณิตศาสตร์ในการคิด มีเหตุผลทั้งในแง่ของวิทยาศาสตร์ และศิลปศาสตร์

2. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 

            สาขานี้จะศึกษาในส่วนของหลักการเขียนโปรแกรมและการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์และออกแบบ ระบบการจัดการฐานข้อมูล ระบบควบคุมการดำเนินงานสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ การสื่อสารข้อมูลและข่ายงานคอมพิวเตอร์

3. สาขาวิชาเคมี 

            จะเน้นศึกษาด้านความรู้พื้นฐานสมบัติทางกายภาพทางเคมีของสารอนินทรีย์และสารอินทรีย์ ตั้งแต่ระดับอะตอมถึงระดับโมเลกุล เพื่อให้ผู้เรียนเคมีสามารถศึกษาขั้นสูงต่อไป

4. สาขาวิชาฟิสิกส์ 

            สาขาวิชาฟิสิกส์จะเรียนเป็นวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำคัญวิชาหนึ่งที่หยั่งลึกลงไปในธรรมชาติของสสาร และพลังงาน

5. สาขาวิชาชีววิทยา 

            จะศึกษาเน้นทางด้านที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ระดับเซลล์จนถึงระดับชีวิตรวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

6. สาขาวิชาสัตววิทยา 

            สำหรับการศึกษาเน้นหนักไปทางสัตววิทยาทั่วไป อนุกรมวิธานสัตว์ วิวัฒนาการของสัตว์ สัตว์ภูมิศาสตร์ กายวิภาคเปรียบเทียบสัตว์คอร์เดท สัตว์มีและไม่มีกระดูกสันหลัง สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และวิชาเฉพาะเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์และสรีรวิทยาสัตว์ จุลกายวิภาคศาสตร์ การพัฒนาตัวอ่อน ฮอร์โมน พยาธิของสัตว์ รวมทั้งวิธีการเก็บรักษาตัวอย่างสัตว์ด้วย

7. สาขาวิชาพฤกษศาสตร์

            จะเรียนเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะการเจริญเติบโต การดำรงชีวิต การสืบพันธุ์ การขยายพันธุ์ ความสัมพันธ์ของพืชกับสิ่งแวดล้อม วิวัฒนาการของพืช การจัดจำแนกหมวดหมู่พันธุ์ไม้ ตลอดจนการใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม เภสัชกรรม

8. สาขาวิชาเทคโนโลยีชนบท 

            สาขานี้จะศึกษาในด้านเทคโนโลยีชนบท เพื่อช่วยส่งเสริม พัฒนา ดัดแปลง เสริมสร้างเครือข่ายและขบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสม อีกทั้งมีความรู้ที่จะนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสังคมอย่างเหมาะสม

9. สาขาวิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป 

            สาขาวิชารังสีประยุกต์และไอโซโทปจะศึกษาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางนิวเคลียร์ รังสีสุขภาพ และการป้องกัน เทคนิคการวัดรังสี ชีววิทยารังสี รังสีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เทคนิคการถ่ายภาพด้วยรังสี รังสีและการกลายพันธุ์ การวิเคราะห์โดยวิธีทางนิวเคลียร์ การใช้รังสีและไอโซโทปในการเกษตร เวชศาสตร์นิวเคลียร์ เป็นต้น

10. สาขาวิชาพันธุศาสตร์ 

            เน้นหนักเกี่ยวกับการถ่ายทอดกรรมพันธุ์ ความแตกต่างของลักษณะที่มีสาเหตุเนื่องมาจากสารพันธุกรรมทั้งในคน สัตว์ และ พืช ตลอดจนศึกษาเชิงพฤติกรรมของสารพันธุกรรมระดับโมเลกุล และโครงสร้างของสารเหล่านั้น

11. สาขาวิชาเคมีวิศวกรรม 

            สำหรับสาขานี้เน้นหนักใน 2 สาย คือ สายเคมีวิศวกรรม ซึ่งเรียนเกี่ยวกับการควบคุมการผลิตเคมีภัณฑ์ และเครื่องอุปโภคบริโภค ที่ต้องใช้กระบวนการเคมี ตลอดจนการออกแบบและการควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกลในโรงงานอุตสาหกรรม และ สายเทคโนโลยีทางเชื้อเพลิง ศึกษาด้านอุตสาหกรรมน้ำมันก๊าชธรรมชาติ เชื้อเพลิงแข็ง และพลังงานในรูปแบบอื่น ๆ การประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงและพลังงาน เป็นต้น

12. สาขาวิชาธรณีวิทยา 

            จะเรียนเกี่ยวกับทรัพยากรธรณี พวก แร่ หิน เชื้อเพลิงธรรมชาติ น้ำ ตลอดจนวัสดุก่อสร้างทั้งการสำรวจ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และศึกษาเกี่ยวกับโลกทั้งทางเคมีและภายภาพ

13. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป 

            จะเป็นการศึกษาเพื่อให้มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายสาขาวิชา เป็นการศึกษาแบบบูรณาการ

14. สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล

             สาขานี้จะเรียนในเรื่องธรรมชาติ สภาพแวดล้อมของท้องทะเลและมหาสมุทร รวมไปถึงการนำทรัพยากรจากท้องทะเลมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

15. สาขาวิชาชีวเคมี 

            ศึกษาเกี่ยวกับชีวเคมีพืช ชีวเคมีสัตว์ ชีวเคมีสิ่งแวดล้อม ชีวเคมีประยุกต์ในการเกษตรและอุตสาหกรรม และชีวเคมีทั่วไป

16. สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 

            จะศึกษาในเรื่องสุขภาพอนามัยและการสาธารณสุขทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ทำและผู้ประสานงานด้านสุขภาพอนามัยและการสาธารณสุข จะเน้นในเรื่องโครงสร้างและระบบการทำงานของร่างกายมนุษย์ กระบวนการเกิดโรค การระบาดของโรค และปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ชุมชน และอุตสาหกรรม

17. สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร 

            สำหรับสาขานี้จะมี 2 สายได้แก่ สายเทคโนโลยีทางอาหาร ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการแปรรูปและการถนอมอาหาร โดยให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูง และ สายเทคโนโลยีทางชีวภาพ ศึกษาเกี่ยวกับการผลิตสารชีวเคมี ซึ่งได้จากสิ่งมีชีวิต และการนำเอาชีวเคมีไปประกอบในอุตสาหกรรมอาหาร การผลิตเอนไซม์ และการผลิตสารปฏิชีวนะ

18. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางภายถ่าย 

            คือเทคโนโลยีทางการพิมพ์ ศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติในการถ่ายภาพ และเทคโนโลยีการพิมพ์

19. สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ 

            สาขานี้ศึกษา 2 ทาง คือ ทางเซรามิกส์และทางโพลีเมอร์  ซึ่งทางเซรามิกส์จะเรียนเกี่ยวกับกระบวนการผลิตวัสดุภัณฑ์ ตลอดจนการใช้งานของผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรมด้านวัสดุคาบเกี่ยว ในส่วนทางโพลีเมอร์ จะเรียนเกี่ยวกับกระบวนการในอุตสาหกรรมด้านโพลีเมอร์ เส้นใย สิ่งทอ พลาสติก สี และวัสดุเคลือบผิวต่าง ๆ

20. สาขาวิชาสถิติ 

            จะศึกษาเกี่ยวกับสถิติทั้งทฤษฎีและประยุกต์ในสาขาอาชีพต่าง ๆ และศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนการทดลอง การสุ่มตัวอย่าง สถิติควบคุมคุณภาพ

21. สาขาวิชาจุลชีววิทยา 

            สาขาวิชาจุลชีววิทยาศึกษาเกี่ยวกับจุลินทรีย์ จำพวกรา แบคทีเรีย และไวรัส โดยนำไปประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรม การเกษตร การอาหาร การแพทย์ และการสาธารณสุข ตลอดจนปรับปรุงมลภาวะและสภาพแวดล้อม

คณะนี้เรียนอะไรในแต่ละปี ?

ปี 1

เรียนวิชาพื้นฐาน

ปี 1 สำหรับการเรียนในปีนี้ยังไม่มีการแยกสาขาและจะได้ทำแล็บ  ในบางครั้งก็จะมีคณะอื่น ๆ เข้ามาเรียนด้วย ก็จะเรียนวิชาพื้นฐานเหมือนกันทุกสาขา เช่น แคลคูลัส ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ สถิติ จิตวิทยา ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ในด้านภาษาและการสื่อสารเน้นการ ฟัง พูด อ่าน เขียน

ปี 2

เริ่มเรียนในหมวดวิชาเฉพาะ

สำหรับปี 2 จะได้เรียนในส่วนภาควิชาที่เราเลือกอย่างเข้มข้นขึ้นมากจะเรียนหมวดวิชาเฉพาะตามสาขาที่เราเลือก เช่น ถ้าเราเลือกเรียนสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ก็จะได้เริ่มเรียนการเขียนโปรแกรม การพัฒนาเว็บเป็นต้น

ปี 3

เรียนเจาะลึกในวิชาเอก

พอเข้าสู่ช่วงปีที่ 3 หลาย ๆ คนก็จะเริ่มเลือกแล็บหรือวิชาเอกของตัวเอง โดยการติดต่ออาจารย์เพื่อฝึกงานขอทำแล็บในเรื่องที่เราสนใจนั้นเอง เป็นการเรียนลึกลงไปเกี่ยวกับวิชาเอก

ปี 4

ช่วงสุดท้ายก่อนจบ

สำหรับปี 4 เป็นปีสุดท้ายแล้วสำหรับการเรียนในปีนี้น้อง ๆ ก็จะต้องทำ Project จบนั่นเองและฝึกงานในหน่วยงานภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานวิจัย สถาบัน หรืองานอื่นที่เทียบเท่าต้องเขียนรายงานและนำเสนอผลงาน ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะแตกต่างกันไป


ทดลองเรียนฟรี >> คลิก


สอบถามรายละเอียด >> คลิก

อยากสอบติด คณะวิทยาศาสตร์
ต้องสอบวิชาอะไร

  1. TGAT (คะแนนรวม)
  2. TPAT3 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์
  3. A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1
  4. A-Level ฟิสิกส์
  5. A-Level เคมี
  6. A-Level ชีววิทยา
  7. A-Level อังกฤษ

ควรได้คะแนนขั้นต่ำเท่าไหร่

วิทยา คณิต Rank A (จุฬา)

คะแนนแนะนำ 55.4

TGAT (คะแนนรวม) (20%) คะแนนแนะนำ 55
TPAT3วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (80%) คะแนนแนะนำ 55

วิทยา คณิต Rank B (มหิดล)

คะแนนแนะนำ 52.2

TGAT (คะแนนรวม) (20%) คะแนนแนะนำ 52
TPAT3 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (20%) คะแนนแนะนำ 50
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (15%) คะแนนแนะนำ 60
A-Level ฟิสิกส์ (15%) คะแนนแนะนำ 50
A-Level เคมี (15%) คะแนนแนะนำ 50
A-Level ชีววิทยา (15%) คะแนนแนะนำ 50

วิทยา คณิต Rank C (ขอนแก่น)

คะแนนแนะนำ 47.3

TPAT3 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (20%) คะแนนแนะนำ 50
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (35%) คะแนนแนะนำ 55
A-Level ฟิสิกส์ (10%) คะแนนแนะนำ 40
A-Level เคมี (10%) คะแนนแนะนำ 40
A-Level ชีววิทยา (10%) คะแนนแนะนำ 40
A-Level อังกฤษ (15%) คะแนนแนะนำ 40

วิทยา คณิต Rank C (ธรรมศาสตร์)

คะแนนแนะนำ 48

TGAT (คะแนนรวม) (40%) คะแนนแนะนำ 45
TPAT3 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (60%) คะแนนแนะนำ 50

วิทยา คณิต Rank C (มศว)

คะแนนแนะนำ 47.5

TGAT (คะแนนรวม) (20%) คะแนนแนะนำ 45
TPAT3วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (30%) คะแนนแนะนำ 45
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (50%) คะแนนแนะนำ 50

วิทยา(ฟิสิกส์)

วิทยา ฟิสิกส์ Rank A (จุฬา)

คะแนนแนะนำ 55.4           

TGAT (คะแนนรวม) (20%) คะแนนแนะนำ 55
TPAT3 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (80%) คะแนนแนะนำ 55

วิทยา ฟิสิกส์ Rank B (มหิดล)

คะแนนแนะนำ 52.2

TGAT (คะแนนรวม) (20%) คะแนนแนะนำ 52
TPAT3 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (20%) คะแนนแนะนำ 50
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (15%) คะแนนแนะนำ 60
A-Level ฟิสิกส์ (15%) คะแนนแนะนำ 50
A-Level เคมี (15%) คะแนนแนะนำ 50
A-Level ชีววิทยา (15%) คะแนนแนะนำ 50

วิทยา ฟิสิกส์ Rank C (ธรรมศาสตร์)

คะแนนแนะนำ 47

TGAT (คะแนนรวม) (20%) คะแนนแนะนำ 47
TPAT3 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (80%) คะแนนแนะนำ 47

วิทยา ฟิสิกส์ Rank C (มศว)

คะแนนแนะนำ 48

TGAT (คะแนนรวม) (35%) คะแนนแนะนำ 50
TPAT3วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์(65%) คะแนนแนะนำ 47

วิทยา ฟิสิกส์ Rank C (ขอนแก่น)

คะแนนแนะนำ 41.75

TGAT (คะแนนรวม) (15%) คะแนนแนะนำ 42
TPAT3 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (15%) คะแนนแนะนำ 40
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (15%) คะแนนแนะนำ 40
A-Level ฟิสิกส์ (25%) คะแนนแนะนำ 45
A-Level เคมี (10%) คะแนนแนะนำ 40
A-Level ชีววิทยา (5%) คะแนนแนะนำ 40
A-Level อังกฤษ (15%) คะแนนแนะนำ 40

       วิทยา(เคมี)

วิทยา เคมี Rank A (จุฬา)

คะแนนแนะนำ 55

TGAT (คะแนนรวม) (20%) คะแนนแนะนำ 54
TPAT3 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (80%) คะแนนแนะนำ 55

วิทยา เคมี Rank A (มหิดล)

คะแนนแนะนำ 52.5

TGAT (คะแนนรวม) (20%) คะแนนแนะนำ 53
TPAT3 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (20%) คะแนนแนะนำ 55
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (15%) คะแนนแนะนำ 50
A-Level ฟิสิกส์ (15%) คะแนนแนะนำ 50
A-Level เคมี (15%) คะแนนแนะนำ 55
A-Level ชีววิทยา (15%) คะแนนแนะนำ 50

วิทยา เคมี Rank A (ธรรมศาสตร์)

คะแนนแนะนำ 53

TGAT (คะแนนรวม) (50%) คะแนนแนะนำ 53
TPAT3 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (50%) คะแนนแนะนำ 53

วิทยา เคมี Rank B (ขอนแก่น)

คะแนนแนะนำ 48.5

TPAT3 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (20%) คะแนนแนะนำ 50
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (15%) คะแนนแนะนำ 50
A-Level ฟิสิกส์ (15%) คะแนนแนะนำ 50
A-Level เคมี (25%) คะแนนแนะนำ 50
A-Level ชีววิทยา (10%) คะแนนแนะนำ 50
A-Level อังกฤษ (15%) คะแนนแนะนำ 40

วิทยา เคมี Rank C (มศว)

คะแนนแนะนำ 45.2

TGAT (คะแนนรวม) (25%) คะแนนแนะนำ 42
TPAT3วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์(75%) คะแนนแนะนำ 45

วิทยา เคมี Rank C (เกษตรฯ)

คะแนนแนะนำ 45.5

TGAT (คะแนนรวม) (30%) คะแนนแนะนำ 42
TPAT3 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (70%) คะแนนแนะนำ 45

 วิทยาชีวะ

วิทยา ชีวะ Rank A (จุฬา)

คะแนนแนะนำ 58.7

TGAT (คะแนนรวม) (20%) คะแนนแนะนำ 54
TPAT3 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (80%) คะแนนแนะนำ 60

วิทยา ชีวะ Rank A (มหิดล)

คะแนนแนะนำ 52.5

TGAT (คะแนนรวม) (20%) คะแนนแนะนำ 53
TPAT3 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (20%) คะแนนแนะนำ 55
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (15%) คะแนนแนะนำ 50
A-Level ฟิสิกส์ (15%) คะแนนแนะนำ 50
A-Level เคมี (25%) คะแนนแนะนำ 55
A-Level ชีววิทยา (10%) คะแนนแนะนำ 55

วิทยา ชีวะ Rank C (ขอนแก่น)

คะแนนแนะนำ 50

TPAT3 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (20%) คะแนนแนะนำ 50
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (10%) คะแนนแนะนำ 50
A-Level ฟิสิกส์ (10%) คะแนนแนะนำ 50
A-Level เคมี (20%) คะแนนแนะนำ 50
A-Level ชีววิทยา (25%) คะแนนแนะนำ 50
A-Level อังกฤษ (15%) คะแนนแนะนำ 50

วิทยา ชีวะ Rank C (มศว)

คะแนนแนะนำ 41

TGAT (คะแนนรวม) (30%) คะแนนแนะนำ 43
TPAT3 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (70%) คะแนนแนะนำ 40

upload success
upload fail
File
uploading