รวมข้อมูล คณะทันตแพทยศาสตร์ ครบสุด!!

คำถามเจอบ่อยเด็กอยากติดคณะทันตแพทยศาสตร์

ถาม : วิชาไหนสำคัญที่สุดสำหรับทันตแพทย์?

ตอบ : ไม่มีวิชาไหนสำคัญที่สุด แต่สำคัญเท่า ๆ กันหมด ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ เป็นวิชาแรก ๆ ที่สำคัญมาก อังกฤษ รองลงมา ส่วนวิชาสังคมและภาษาไทย เลข ก็น้อยลงมาหน่อย

_________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : กลัวว่า เวลาจบไปแล้วจะเป็นหมอฟันที่เก่งไม่ได้
ตอบ : ไม่มีหมอฟันคนไหนจบออกมาทำงานเก่ง ตอนจบใหม่ ๆ ก็เพิ่งจะเคยถอนฟันไป 10-20 ซี่ อุดฟันไป 10 กว่าซี่ ผ่าฟันคุดไป 5-6 ครั้ง ทำครอบฟันไป 2 ซี่ แน่นอนที่สุดว่าไม่มีใครจะสามารถทำงานได้เชี่ยวชาญตั้งแต่จบใหม่ ๆ ซึ่งไม่แปลกที่จะมีการทำงานผิดพลาดไปบ้าง ทำงานอาจจะไม่สวย อาจจะทำนาน ก็แค่เพียงตั้งใจทำงาน และค่อย ๆ เรียนรู้ไปก็จะเก่งเอง

_________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : คณะทันตแพทย์แต่ละมหาลัยเหมือนกันหรือเปล่า จริงไหมว่ามหิดลและจุฬาดีที่สุด?
ตอบ : ไม่ว่าจะจบมาจากมหาลัยไหน น้องจะได้ใบประกอบวิชาชีพทันตแพทย์เหมือนกันทุกคน มีค่า มีศักดิ์ศรีเท่ากัน จึงไม่มีความแตกต่างแต่อย่างใด สิ่งที่จะแตกต่างกันน่าจะเป็นบรรยากาศในรั้วมหาวิทยาลัยและจังหวัดที่อยู่มากกว่า

_________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : อะไรสำคัญที่สุดสำหรับการเป็นทันตแพทย์?
ตอบ : ก็คือจิตใจ  ต้องมีเมตตา มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรม เรื่องของความรู้มันก็สำคัญ แต่มันเป็นสิ่งที่เราสามารถสร้างขึ้นเองได้ อ่านหนังสือเยอะ ๆ ตั้งใจเรียนแต่เรื่องของจิตใจคุณธรรมมันปลูกฝังหรือขัดเกลากันยาก จึงไม่แปลกที่เวลานักศึกษาโกงคะแนน ทุจริตข้อสอบหรือปลอมลายเซ็นอาจารย์จึงมักจะโดนทำโทษให้เรียนซ้ำอีกปี เพราะไม่มีสถาบันใดอยากปล่อยให้นักศึกษาเติบโตไปเป็นหมอที่ไม่ดี

_________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : ทันตแพทย์เรียนทั้งหมดกี่ปี แล้วเรียนอะไรบ้าง?

ตอบ : ทันตแพทย์จะเรียนทั้งหมด 6 ปี 3 ปีแรกจะเป็นการเรียนทฤษฎีในห้องเรียน แต่พอขึ้นปีที่ 4 จะต้องทำพรีคลีนิคเพื่อนักศึกษาด้วยกันเอง พอปีที่ 5 ก็จะเริ่มรักษาคนไข้ได้

_________________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : เรียนแพทย์หรือทันตแพทย์ดี?

ตอบ : จะเรียนแพทย์หรือทันตแพทย์ บอกว่าเรียนแพทย์กับทันตแพทย์แตกต่างกันมาก เรียนแพทย์ เน้นด้านวิชาการต้องเก่งด้านวิชาการ ต้องท่องตำรา แต่เรียนทันตแพทย์จะเน้นวิชาการ แต่ไม่ล้วน ๆ เท่าแพทย์ ทันตแพทย์ต้องเข้าแล็ปเยอะมาก ๆ เวลาสอบ ถ้าสอบข้อเขียนเต็ม แต่สอบแล็ปไม่ผ่านเท่ากับไม่จบ

_________________________________________________________________________________________________________________________

สาขาของคณะทันตแพทย์มีอะไรบ้าง ?

สำหรับคณะทันตแพทยศาสตร์มีสาขาเฉพาะทาง 10 สาขาซึ่งจะมีสาขาต่าง ๆ ดังนี้

1. สาขาปริทันตวิทยา 

            ทันตแพทย์สาขานี้จะเชี่ยวชาญในเรื่องของการตรวจวิเคราะห์รักษาโรคที่เกิดจากที่รองรับฟันและทันตกรรมรากเทียม ถ้าเรียนเฉพาะทางสาขานี้จะได้ลงลึกเกี่ยวกับการป้องกันและรักษาโรคที่เกี่ยวกับเหงือกและอวัยวะรอบ ๆ ฟัน ซึ่งเกิดจากแบคทีเรียและดูแลรักษาฟันไม่สะอาด จนเกิดคราบหินปูน เหงือกบวมแดง เหงือกร่น  จะรักษาด้วย การขูดหินปูน การเกลารากฟัน


2. สาขาทันตกรรมหัตถการ

            กลุ่มสาขาวิชาทันตกรรมหัตถการ จะได้เรียนเกี่ยวกับการบูรณะฟันให้กลับมาใกล้เคียงกับสภาพเดิม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าฟันกรามผุ แทนที่จะถอนฟันก็อุดฟันแทน และรักษาความบกพร่องของฟันทำให้ฟันมีรูปร่างถูกต้อง สวยงาม ทำหน้าที่ได้ตามปกติ ซึ่งในระดับปริญญาตรีก็จะได้เรียนการอุดฟันด้วยวัสดุอุดฟันชนิดต่าง ๆ


3. สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล 

            ทันตแพทย์ในสาขานี้จะเชี่ยวชาญการประเมิน วินิจฉัย รักษาทางศัลยกรรม และแก้ไขความผิดปกติในช่องปาก ขากรรไกรและใบหน้าเป็นสาขาเฉพาะทางสาขาเดียวที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การถอนฟันธรรมดา ถอนฟันคุด การผ่าตัดกระดูกในช่องปาก ผ่าตัดขากรรไกร ในระดับปริญญาตรีจะศึกษาแค่การถอนฟันและถอนฟันคุดเท่านั้น ถ้าไม่ได้ศึกษาต่อทางด้านนี้จะไม่สามารถรักษาคนไข้ด้วยวิธีการผ่าตัดได้ เพราะถือว่าเป็นศาสตร์ที่ต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษ ถ้าไม่ชำนาญพอจะยิ่งจะเป็นอันตราย


4.  สาขาทันตสาธารณสุข 

            เป็นสาขาที่ไม่เน้นงานในคลินิค แต่เป็นการลงภาคสนาม เข้าชุมชน เน้นการบริหาร จัดการ วางแผน และการประยุกต์ความรู้ให้เกิดประโยชน์กับชุมชน เพื่อช่วยให้คนในชุมชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น โดยเป็นการป้องกันควบคุมโรค ภาวะความผิดปกติของช่องปากผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาแก่ชุมชน


5. สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ 

            สาขานี้จะเรียนเกี่ยวกับการฟื้นฟูรักษาฟัน อวัยวะภายในช่องปาก ขากรรไกร อวัยวะเทียมและสิ่งประดิษฐ์ของผู้ป่วยเพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นการศึกษาการบูรณะฟัน อวัยวะในช่องปาก ใบหน้าและขากรรไกร ด้วยวัสดุประเภทต่าง ๆ ที่ประดิษฐ์ทำขึ้น เพื่อให้ใช้งานได้ดีมีความสะดวกสบาย และความสวยงามของช่องปาก โดยการบูรณะฟันธรรมชาติ ทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป


6.  สาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก 

            สาขานี้จะรักษาสุขภาพช่องปาก รวมถึงการป้องกันและรักษาพื้นฐานผู้ป่วยในวัยเด็กแรกเกิดจนถึง 18 ปี เป็นการรักษาช่องปากของเด็ก ขั้นตอนการรักษาช่องปากในวัยเด็กกับวัยผู้ใหญ่จะไม่ต่างกันมาก แต่สิ่งที่ต่างกันคือ วิธีการจัดการรักษา เพราะการรักษาฟันในเด็กจะต้องอาศัยจิตวิทยาเข้ามาช่วย ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะได้เรียนกันอย่างละเอียด ถ้าได้เรียนต่อเฉพาะทาง


7. สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ 

            ในสาขานี้ทันตแพทย์จะเชี่ยวชาญการวินิจฉัย รักษาเนื้อเยื่อในฟันและเนื้อเยื่อรอบรากฟันเป็นทันตแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญการรักษาคลองรากฟัน ซึ่งอาจเกิดจากฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน หรือฟันแตก หัก ทำให้เกิดการติดเชื้อในโพรงประสาทฟัน ทำให้เกิดโพรงประสาทฟันอักเสบ มีอาการปวดฟัน


8. สาขาทันตกรรมจัดฟัน 

            สาขานี้ทันตแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับการจัดเรียงฟัน การเคลื่อนฟันให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อให้เกิดความสวยงาม การรักษาความผิดปกติของการสบฟันโดยใช้เครื่องมือทันตกรรมจัดฟันเพื่อให้ฟันทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ง่ายต่อการดูแลและทำความสะอาด


9.  สาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก 

            เป็นการศึกษาต่อเนื่องสาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบวุฒิบัตร โดยสาขานี้จะเกี่ยวข้องกับการตรวจ วิเคราะห์ วินิจฉัย รวมไปถึงการษาโรคโดยการใช้ความรู้ด้านต่างๆ เช่น เวชศาสตร์ช่องปาก รังสีวิทยาช่องปาก เป็นต้น


10. สาขาทันตกรรมทั่วไป

            สาขานี้จะเกี่ยวข้องกับการใช้ความรู้ทางทันตแพทยศาสตร์ในทุก ๆ สาขาเพื่อใช้ในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่การส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสภาพในผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุผู้ป่วยในกลุ่มพิเศษ

คณะทันตแพทยศาสตร์ต้องเรียนอะไรบ้างในแต่ละปี ?

ปี 1

เรียนปรับพื้นฐานด้านวิทย์และสังคม

            สำหรับชั้นปีที่ 1 วิชาที่จะได้เรียนนั้นจะเรียนเตรียมทันตแพทย์ที่คณะวิทยาศาสตร์และสังคม ทั่ว ๆไปส่วนใหญ่แล้วเป็นวิชาพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และสังคมทั่วไป และในหลาย ๆ วิชาก็จะได้เรียนรวมกับคณะ/สาวิชาอื่น ๆ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ มนุษย์กับการรู้จักตนเอง วิชาชีพทันตแพทย์ขั้นแนะนำ มหกายวิภาคศาสตร์ทั่วไป จุลกายวิภาคศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เป็นต้น

ปี 2

ก้าวสู่การเรียนแพทย์มากขึ้น

            พอขึ้นชั้นปีที่ 2 จะได้เรียนเกี่ยวกับพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์และทันตแพทย์มากขึ้น เช่น วิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาช่องปาก ทันตวัสดุ การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก รังสีวิทยาช่องปาก ทันตกรรมบดเคี้ยว พยาธิวิทยา จุลชีววิทยา เภสัชวิทยา และชีวเคมี ฯลฯ

ปี 3

เรียนก่อนฝึกปฎิบัติจริง

            ในช่วงชั้นปีที่ 3 จะเริ่มเข้าสู่วิชาบรรยายและวิชาปฏิบัติทางด้านทันตกรรมพื้นฐานมากขึ้น เช่น วิชาทันตกรรมหัตถการ ฟันปลอมทั้งปาก การสบฟัน โรคในช่องปาก ฟันปลอมบางส่วน และทันตกรรมป้องกัน เป็นต้น

ปี 4

เข้าสู่การรักษาเบื้องต้น

            เข้าสู่ปีที่ 4 เริ่มขึ้นคลินิกรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านทันตกรรมเบื้องต้น โดยเป็นหน่วยกิตคลินิกประมาณ 1 ใน 3 ของหน่วยกิตทั้งหมด และนอกจากนี้ยังมีการฝึกปฏิบัติงานภาคสนามทางทันตกรรมชุมชนอีกด้วย

ปี 5

เริ่มทำงานจริงในคลินิก

            ในปีที่ 5 จะได้เรียนในคลินิกมากขึ้น โดยนับเป็นสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของหน่วยกิตทั้งหมด รวมทั้งยังได้ฝึกปฏิบัติงานภาคสนามในงานทันตกรรมโรงเรียน และการทำงานโครงงานวิจัยทางด้านทันตกรรม อีกด้วย

ปี 6

ฝึกการทำงานจริงในคลินิกและภาคสนาม

            ในปีสุดท้ายปีที่ 6 จะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในคลินิก โดยจะฝึกปฏิบัติงานการดูแลผู้ป่วยรวมคล้ายในคลินิกจริง ๆ ผู้ป่วยก็จะมีปัญหาทันตกรรมที่ซับซ้อนขึ้น การตรวจบำบัดรักษาทางทันตกรรม การส่งเสริมและป้องกันโรคของฟัน เหงือก และเนื้อเยื่อในช่องปาก เป็นต้น ส่วนเทอมที่ 2 จะได้หมุนเวียนไปฝึกงานในโรงพยาบาล หรือในชุมชนจริง ๆ


ทดลองเรียนฟรี >> คลิก

สอบถามรายละเอียด >> คลิก

อยากสอบติด คณะทันตแพทยศาสตร์
ต้องสอบวิชาอะไร

  1. A – Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1
  2. A – Level ไทย
  3. A – Levelสังคม
  4. A – Levelอังกฤษ
  5. A – Levelฟิสิกส์
  6. A – Levelเคมี
  7. A – Levelชีวะ
  8. ความถนัดแพทย์

ควรได้คะแนนขั้นต่ำเท่าไหร่

ทันตแพทย์ RANK A

คะแนนแนะนำ 70

ทันตแพทย์จุฬาฯ

TPAT1 ความถนัดแพทย์ – เชาวน์ปัญญา (30%) คะแนนแนะนำ 70
TPAT1ความถนัดแพทย์ – จริยธรรม คะแนนแนะนำ 70
TPAT1ความถนัดแพทย์ – เชื่อมโยง คะแนนแนะนำ 80
A-Level ฟิสิกส์ (28%) คะแนนแนะนำ 65
A-Level เคมี คะแนนแนะนำ 65
A-Level ชีววิทยา คะแนนแนะนำ 65
A-Level สังคมศึกษา (7%) คะแนนแนะนำ 70
A-Level ไทย (7%) คะแนนแนะนำ 70
A-Level อังกฤษ (14%) คะแนนแนะนำ 70
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (14%) คะแนนแนะนำ 70

ทันตแพทย์ RANK

คะแนนแนะนำ 67.9

ทันตแพทย์มหิดล

TPAT1 ความถนัดแพทย์ – เชาวน์ปัญญา (30%) คะแนนแนะนำ 70
TPAT1 ความถนัดแพทย์- จริยธรรม คะแนนแนะนำ 70
TPAT1ความถนัดแพทย์- เชื่อมโยง คะแนนแนะนำ 80
A-Level ฟิสิกส์ (28%) คะแนนแนะนำ 65
A-Level เคมี คะแนนแนะนำ 65
A-Level ชีววิทยา คะแนนแนะนำ 65
A-Level สังคมศึกษา (7%) คะแนนแนะนำ 70
A-Level ไทย (7%) คะแนนแนะนำ 70
A-Level อังกฤษ (14%) คะแนนแนะนำ 70
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (14%) คะแนนแนะนำ 70

ทันตแพทย์ RANK C

คะแนนแนะนำ 65.8

ทันตแพทย์ธรรมศาสตร์

ทันตแพทย์ศรีนครินทรวิโรฒ

ทันตแพทย์เชียงใหม่

ทันตแพทย์สงขลานครินทร์

ทันตแพทย์ขอนแก่น

TPAT1 ความถนัดแพทย์ – เชาวน์ปัญญา (30%) คะแนนแนะนำ 70
TPAT1 ความถนัดแพทย์ – จริยธรรม คะแนนแนะนำ 70
TPAT1ความถนัดแพทย์ – เชื่อมโยง คะแนนแนะนำ 80
A-Level ฟิสิกส์ (28%) คะแนนแนะนำ 65
A-Level เคมี คะแนนแนะนำ 65
A-Level ชีววิทยา คะแนนแนะนำ 65
A-Level สังคมศึกษา (7%) คะแนนแนะนำ 70
A-Level ไทย (7%) คะแนนแนะนำ 70
A-Level อังกฤษ (14%) คะแนนแนะนำ 70
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (14%) คะแนนแนะนำ 70

upload success
upload fail
File
uploading